Page 158 - 001
P. 158

147


                   ลักษณะสำคัญของอาณาจักรจาลุกยะและราษฏรกูฏะ

                                                                                                   ื้
                          ทั้งจาลุกยะแห่งพาทามิและราษฏรกูฏะ ต่างมีความสำคัญเนื่องจากเคยปกครองพนที่
                   ของคาบสมุทรเดคข่านและอินเดียใต้ ภายใต้การปกครองของจาลุกยะได้ทำให้วัฒนธรรมของ
                   อินเดียใต้มีความเจริญรุ่งเรือง สาเหตุหนึ่งมาจากการที่สามารถครอบครองพนที่ที่เป็นจุด
                                                                                           ื้
                                                                                                 ั
                   ยุทธศาสตร์ทางด้านการค้าไว้ได้ โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งตะวันตก เช่น เกาะเอเลฟนตา
                                                                                                     5
                   (Elephanta) และกัว (Goa) เป็นต้น เมืองท่าต่างๆ รวมไปถึงเมืองใหญ่ๆได้กลายมาเป็น
                   ศูนย์กลางในการประกอบกิจกรรมทางการค้าทั้งภายในและภายนอกอาณาจักร ความมั่งคั่งที่ได้
                   จากการค้านี้เองที่มีส่วนส่งเสริมให้วัฒนธรรมในอินเดียใต้เจริญงอกงาม
                          ราชวงศ์จาลุกยะเป็นผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ ถึงกระนั้นกษัตริย์ทุกพระองค์ก็มีพระทัย

                   กว้างกับศาสนาอื่นๆด้วย ดังนั้น ศาสนาเชนจึงเป็นที่นิยมมากในรัฐมหาราษฏร์ แม้แต่ศาสนา
                   พุทธซึ่งอยู่ในยุคเสื่อม ยังได้รับการดูแลจากรัฐ ดังที่เหี้ยนซังได้บันทึกไว้ว่าในช่วงที่เดินทางเข้ามา
                                                                                                     6
                   ในอาณาจักรจาลุกยะยังได้พบเห็นวิหารและวัดวาอารามเป็นจำนวนมาก แม้แต่พวกปาร์ซี
                   (Parsees) ก็สามารถเข้ามาตั้งถิ่นฐานและประกอบศาสนกิจที่ตนเองนับถือได้โดยปราศจากการ
                   แทรกแซงจากกลุ่มอื่น

                          ในช่วงเวลาที่จาลุกยะปกครองพนที่ภาคใต้ ศิลปวัฒนธรรมได้รุ่งเรืองขึ้นมาก งานทั้ง
                                                       ื้
                   ทางด้านจิตรกรรมและสถาปัตยกรรมต่างเจริญขึ้นภายใต้การอุปถัมภ์ของราชวงศ์ ไม่ว่าจะเป็น

                   งานเขียนแบบใช้เทคนิคเฟรสโก (fresco) ที่ปรากฏในถ้ำอชันตา หรือสถาปัตยกรรมที่ใช้การขุด
                   เข้าไปในภูเขา หรือที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมถ้ำ เป็นศาสนสถานเนื่องในศาสนาพราหมณ์ไศว
                   นิกายและไวษณพนิกาย เช่น ถ้ำพาทามิ และถ้ำพระวิษณุที่ไอโหเล เป็นต้น

                          ส่วนราชวงศ์ราษฏรกูฏะ ซึ่งสืบต่อมาก็นับถือศาสนาฮินดูเช่นเดียวกัน แต่ก็มีพระทัย
                   กว้างให้กับศาสนาอื่นดังเช่นผู้ปกครองที่ดี ดังนั้น ศาสนาเชนจึงได้รับการคุ้มครอง ในขณะที่

                           ุ
                   ศาสนาพทธในช่วงเวลานั้นเข้าสู่ยุคแห่งความเสื่อมอย่างแท้จริง แต่ก็เกิดจากปัญหาภายในเอง
                   ราษฏรกูฏะไม่มีนโยบายแทรกแซงแต่อย่างใด เพราะแม้แต่ศาสนาอิสลาม ซึ่งชาวอินเดียมองว่า
                   เป็นลัทธิความเชื่อจากภายนอกที่เข้ามาพร้อมการตั้งถิ่นฐานของชาวอาหรับที่เข้ามาทำการค้า ก็

                   มีการเผยแพร่ไปได้อย่างเสรีในอาณาจักรนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงทัศนคติของผู้ปกครองที่มี
                   ความก้าวหน้าและการมีพระทัยกว้าง

                          แม้ตลอดระยะเวลาที่ราษฏรกูฏะครองแผ่นดินจะไม่ปรากฏสกุลช่างทางศิลปกรรมแบบ
                   ใหม่เลยก็ตาม แต่ราชวงศ์นี้ก็ได้สร้างศาสนสถานและประติมากรรมเทพและเทพีเป็นจำนวนมาก
                   โดยวัดในศาสนาฮินดูที่มีชื่อเสียงได้แก่ วัดไกรลาศแห่งแอลโลรา (Kailash Temple of Ellora)

                   ซึ่งเป็นตัวอย่างของงานสถาปัตยกรรมที่มีความพิเศษแห่งหนึ่งในอินเดียภาคใต้





                          5  ดูเพิ่มเติมที่ S.R. Rao, A.S. Gaur and Sila Tripati. (2001). Exploration of an Ancient Port: Elephanta Island
                   (Bombay). Hemakuta-Recent Researches in Archaeology and Museology. Delhi: Bhartiya Kala Prakashan, pp. 89-
                   95.
                          6  ปาร์ซ คอ กลุ่มชนที่เป็นสมาชิกอยู่ในชุมชนโซโรอัสเทรียน (Zoroastrian) สืบเชื้อสายมาจากผู้อพยพชาวเปอร์เซยดั้งเดิม
                               ี
                                ื
                                                                                                 ี
                   และนับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ (Zoroastrianism)
   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163