Page 157 - 001
P. 157

146


                          นอกจากจาลุกยะแห่งพาทามิแล้ว ยังปรากฏพวกจาลุกยะอีกหลายสายได้แก่ จาลุกยะ

                   แห่งเวงคี (Chalukyas of Vengi) หรือจาลุกยะตะวันออก (Eastern Chalukyas) และจาลุกยะ
                   แห่งกัลยะนะ (Chalukyas of Kalyana) โดยจาลุกยะแห่งเวงคีถูกก่อตั้งขึ้นโดยวิษณุ วรรธนะ
                   ซึ่งเป็นพระอนุชาของปุลเกศินที่ 2 วิษณุ วรรธนะได้แยกตัวออกมาแล้วสถาปนาอาณาจักรจาลุก

                   ยะตะวันออกขึ้นในราว พ.ศ. 1158 โดยมีเมืองหลวงแรกอยู่ที่ปิษตปุระ (Pishtapura) หลังจาก
                   นั้นจึงได้ย้ายมาที่เมืองเวงคิ (Vengi) เรื่องราวเกี่ยวกับจาลุกยะตะวันออกที่มีการบันทึกไว้ มัก

                   เป็นเรื่องการต่อสู้กับปัลลวะและปาณฑยะ แต่ในท้ายที่สุดจาลุกยะตะวันออกก็ถูกราชราชะ
                                                                           ี
                   (Rajaraja) กษัตริย์แห่งโจฬะทำลายลง และต้องกลายเป็นเพยงเจ้าผู้ครองที่ดินภายใต้การ
                   ปกครองของอาณาจักรโจฬะในราวพุทธศตวรรษที่ 16 (คริสต์ศตวรรษที่ 10)

                          ในขณะที่จาลุกยะแห่งกัลยะนะ เคยเป็นเจ้าที่ดินในสมัยที่ราชวงศ์ราษฏรกูฏะปกครอง
                   อยู่ในแถบเดคข่าน จนกระทั่งในราวพุทธศตวรรษที่ 16 เจ้าที่ดินนำโดยตัยละที่ 2 (Taila II) ก่อ

                   กบฏขึ้นและล้มล้างราชวงศ์ราษฏรกูฏะ ตัยละที่ 2 ได้ปกครองพื้นที่ในแถบเดคข่าน แต่ล่มสลาย
                   ลงในพุทธศตวรรษที่ 17 เนื่องจากการจราจลที่เกิดขึ้นภายในอาณาจักรเอง


                          ราษฏรกูฏะ (Rashtrakutas) เป็นราชวงศ์ที่ก่อตั้งขึ้นภายหลังการล่มสลายของ
                   อาณาจักรจาลุกยะแห่งพาทามิ เป็นผู้ที่ปกครองพื้นที่ในแถบเดคข่านสืบทอดมาจากจาลุกยะ ผู้ที่

                   ก่อตั้งราชวงศ์คือ ทันติทุรคะ (Dantidurga : พ.ศ. 1296- 1301) ซึ่งแต่เดิมเป็นข้าหลวงที่มีที่มา
                   จากการเป็นเจ้าที่ดิน และราชวงศ์จาลุกยะแต่งตั้งให้ดูแลพื้นที่ แรกเริ่มที่ทันติทุรคะมีอำนาจ เขา
                   ยังคงยอมรับกษัตริย์แห่งจาลุกยะเป็นเจ้าเหนือหัว (overlord) แต่เมื่อวิกรมาทิตย์ที่ 2

                                                                 ิ่
                   สิ้นพระชนม์ ทันติทุรคะก็ได้ขยายอำนาจของตนเพมขึ้น  จนกระทั่งในปี พ.ศ. 1293 เขาก็ได้
                                          ื้
                   กลายเป็นผู้ครอบครองพนที่บริเวณคุชราตตอนกลางและตอนใต้ รวมไปถึงรัฐมัธยประเทศ
                                ิ่
                                                    ื้
                   ทั้งหมด การเพมขึ้นของอำนาจและพนที่ในการปกครองของทันติทุรคะ ทำให้กีรติ วรมันที่ 2
                   กษัตริย์แห่งจาลุกยะไม่พอใจ จึงเกิดสงครามขึ้น ในที่สุดทันติทุรคะเป็นผู้ชนะ และสามารถล้ม
                   ล้างราชวงศ์จาลุกยะได้เป็นผลสำเร็จ  ราษฏรกูฏะมีอำนาจอยู่ 223 ปี หลังจากนั้นจึงถูกจาลุกยะ

                   แห่งกัลยะนะล้มล้างลง
                          ราชวงศ์ราษฏรกูฏะเป็นผู้ที่ได้ครอบครองพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาลของที่ราบสูงเดคข่าน

                   และอินเดียใต้อย่างที่ไม่เคยมีราชวงศ์ใดในอินเดียใต้เคยทำได้มาก่อน และนอกจากจะเป็น
                   ผู้ปกครองอินเดียใต้แล้ว ยังเป็นราชวงศ์ทางใต้ราชวงศ์แรกที่เข้าโจมตีอินเดียเหนือด้วย ในช่วง
                   เวลาหนึ่งราษฏรกูฏะสามารถมีชัยชนะเหนือประติหาระและปาละ และสามารถเข้ายึดครอง

                   เมืองกาโนชไว้ได้ แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆที่พวกเขาขึ้นไปมีอำนาจในอินเดียเหนือ แต่นับเป็น
                   ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ เนื่องจากไม่เคยมีราชวงศ์ทางใต้ใดๆในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาที่จะ

                   สามารถแทรกซึมและยึดครองพื้นที่ของอินเดียเหนือไว้ได้เลย
   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162