Page 127 - 001
P. 127

116


                   ในอินเดียใต้ โดยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น พบแหล่งโลหะที่สำคัญ ยกตัวอย่างเช่น เปรัค

                   และสลังงอร์ ซึ่งเป็นแหล่งดีบุก ในขณะที่บริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ
                                                                             ุ
                   ประเทศไทย เช่น ภูโล้น อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย และเขาพคา จังหวัดลพบุรี เป็นแหล่ง
                   เหมืองทองแดง นอกจากนี้ แหล่งโบราณคดีอ่างเก็บน้ำนิลกำแหง จังหวัดลพบุรี ยังเป็นแหล่ง

                   ผลิตก้อนทองแดงสำเร็จรูปอีกด้วย
                          อย่างไรก็ดี สินค้าออกที่สำคัญที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ของป่าและ

                                  ่
                                                        ่
                   เครื่องเทศ โดยพอค้าชาวอินเดียจะเป็นพอค้าคนกลางในการขนส่งสินค้าจากเอเชียตะวันออก
                   เฉียงใต้ไปยังอินเดีย และพ่อค้าในแถบเมดิเตอร์เรเนียนจะขนส่งเพื่อไปโลกตะวันตกอีกทอดหนึ่ง
                                                                                  27
                                                              26
                   เครื่องเทศที่เป็นสินค้าส่งออกได้แก่ กานพลู  (clove)  พริกไทย   (pepper) อบเชย
                                                                    29
                                              28
                   (cinnamon) เปลือกต้นอบเชย  (cassia) และไม้จันทน์  (sandalwood) เครื่องเทศเหล่านี้ถูก
                   นำไปใช้ในการทำยาและวัตถุกันเสีย
                          ในช่วงพทธศตวรรษที่ 5-9 (ราว 50 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ.300) หรือที่เรียกว่ายุคอิน
                                 ุ
                   โด-โรมันเป็นยุคสมัยหนึ่งที่โลกตะวันตก อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทำการค้ากันอย่าง
                   เป็นล่ำเป็นสันมากที่สุด เนื่องจากในขณะนั้น จักรวรรดิโรมันมีเสถียรภาพทางการเมืองและมี

                   ความต้องการสินค้าและเครื่องเทศจากโลกตะวันออกเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับที่จีนคือ ราชวงศ์
                   ฮั่น ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และแคว้นง่อหรือวู่ (Wu Kingdom) ในยุคสามก๊กมีความต้องการ

                   สินค้าจากโลกตะวันตกมากขึ้น อีกทั้งผู้นำของรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ต้องการสินค้าจาก
                                 ื่
                   นอกดินแดนเพอแสดงสถานะทางสังคมที่สูงขึ้น (ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว) เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัย
                                                                               30
                   สำคัญที่ทำให้การค้าระหว่าง 2 ซีกโลกมีความคึกคักมากในช่วงเวลานี้

                   การล่มสลายของการค้ายุคอินโด-โรมัน

                          การค้าในยุคอินโด-โรมันเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในราวพทธศตวรรษที่ 5-8 หรือ 100 ปี
                                                                          ุ
                                                                                  ุ
                   ก่อนคริสตกาลถึงคริสต์ศตวรรษที่ 2 และเริ่มลดลงจนล่มสลายในราวพทธศตวรรษที่ 8-9 โดย
                   พิจารณาจากหลักฐานทางโบราณคดี อันได้แก่ เหรียญโรมัน เศษภาชนะดินเผา แก้วและชิ้นส่วน

                   แก้ว ลูกปัด แหล่งเรือจม ฯลฯ ทั้งนี้ การเสื่อมถอยทางการค้าระหว่างโรมันและอินเดียประกอบ
                   ไปด้วยสาเหตุหลายประการด้วยกัน โดยสาเหตุหลักๆมาจากปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจ

                   กล่าวคือ ได้เกิดความไม่สงบและก่อการกบฏขึ้นในแถบลุ่มแม่น้ำไนล์ซึ่งโรมันครอบครองอยู่ โดย
                   กลุ่มเบลมมีเยส (Blemmyes) ซึ่งเป็นชนเผ่าเร่ร่อนชาวเบจา (Beja) ที่อาศัยอยู่ในแถบนูเบีย
                   (Nubia) ทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมทางการค้าที่เมืองท่าต่างๆของอียิปต์ ในขณะที่

                   พนที่ในโซนยุโรป กลุ่มผู้พดภาษาเยอรมัน (Germanic) ก็เข้ามาก่อความไม่สงบในบริเวณ
                    ื้
                                           ู


                          26  กานพลูเป็นพืชที่อยู่ในสกุล Syzygium ใช้ประโยชน์ในส่วนที่เป็นดอกตูมแห้ง และน้ำมันที่ได้จากการสกัด เป็นพืช
                   พื้นเมืองที่เติบโตอยู่ในแถบหมู่เกาะโมลุกกะ
                          27  พริกไทย หาได้จากแผ่นดินใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อบเชย และเปลือกอบเชย
                          28  ต้นอบเชย เติบโตอยู่ในบริเวณสุมาตราตะวันตกและชวา
                          29  อาจนำมาจากหมู่เกาะอินโดนีเซียแถบตะวันออก
                          30  Kishor K.Basa & Karuna Sagar Behera. Indo-Roman Trade. Maritime Heritage of India, p. 59.
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132