Page 126 - 001
P. 126

115


                          สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับการค้าในยุคอินโด-โรมัน คือ การพบหลักฐานว่า

                            ์
                   ผลิตภัณฑที่เกี่ยวพนกับการค้าในยุคดังกล่าวนี้ไม่ได้มาจากเมดิเตอร์เรเนียนหรือเมโสโปเตเมีย
                                    ั
                   เท่านั้น แต่ยังพบการนำเข้าสินค้าจากอาหรับด้วย ยกตัวอย่างเช่น การขุดค้นที่ปัตตนัม
                   (Pattanam) พบเศษชิ้นส่วนภาชนะดินเผาจากเยเมนในชั้นวัฒนธรรมที่อยู่ในยุคการค้ากับ

                        21
                   โรมัน  การปรากฏขึ้นของหลักฐานเหล่านี้แสดงให้เห็นเครือข่ายการค้าที่มีความหลากหลาย ไม่
                   ว่าจะเป็นในเรื่องของเส้นทาง เมืองท่า และการขนส่งล้วนมีสายสัมพนธ์ระหว่างกันในช่วงต้น
                                                                                ั
                                         22
                   ประวัติศาสตร์ของอินเดีย

                   ยุคอินโด-โรมันกับการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

                          การค้าระหว่างอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทวีความเข้มข้นมากขึ้นในสมัยอินโด-
                   โรมัน อันเป็นช่วงที่อินเดียเหนืออยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ในราชวงศ์กุษาณะ และภาค

                   ตะวันตกอยู่ใต้การปกครองของกษัตริย์ราชวงศ์ศาตวาหนะ อินเดียมีการติดต่อค้าขายกับ
                   อาณาจักรโรมันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ดังนั้น สินค้าจากเมืองท่าของอินเดียที่ส่งมาขายยังดินแดน
                   เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงมีทั้งสินค้าของอินเดียเอง เช่น ลูกปัดหินคาร์เนเลียน อาเกต ทั้งแบบ

                   เรียบแบบลาย ภาชนะสำริด หวีงาช้าง ลูกเต๋า (สลักจากงาช้างหรือกระดูก) และสินค้าจากโลก
                   ตะวันตก เช่น ลูกปัดแก้วมีแถบสี (striped bead) ลูกปัดแก้วแบบลูกปัดมีตา (eye bead) ที่มี

                   ถิ่นกำเนิดแถบเมดิเตอร์เรเนียนและเปอร์เซีย และสินค้าของโรมัน เช่น ตะเกียงโรมัน หัวแหวน
                   สลักจากหินมีค่า (intaglios) ภาชนะดินเผาแบบเตอร์รา ซิคิลลาต้า (terra sigillata) และ
                   ภาชนะดินเผาแบบรูแลตด์ (roulette ware) ในบริเวณเมืองท่าโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียง

                     23
                   ใต้
                          สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การค้าระหว่างทั้งสองดินแดนมีความหนาแน่นมากขึ้นในยุคอินโด-

                                      ั
                   โรมัน คือ เกิดการพฒนาโครงสร้างอำนาจทางการเมืองขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                   ปรากฏการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดรัฐหรืออาณาจักรต่างๆขึ้นตั้งแต่ราวพทธศตวรรษที่ 5 เป็นต้นมา
                                                                               ุ
                   ดังนั้น จึงมีความต้องการสินค้าที่มาจากต่างประเทศเพื่อแสดงฐานะที่สูงขึ้นของผู้นำ ซึ่งในขณะ

                                                                       24
                   นี้มีลักษณะเป็นสมมุติเทพอันมีต้นแบบมาจากกษัตริย์อินเดีย
                          สินค้าส่งออกที่สำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ โลหะ ได้แก่ สำริดซึ่งมีค่าดีบุก

                     25
                   สูง  (high-tin bronze) ซึ่งพบหลักฐานที่ตักษิลา (Taxila) และอทิฉะนัลลุร (Adichanallur)


                          21  V. Selvakumar, K.P. Shajan and Roberto Tomber. (2009). Archaeological Investigations at Pattanam,
                   Kerala: New Evidence for the Location of Ancient Muziris. Migration, Trade and Peoples PART 1: Indian Ocean
                   Commerce and The Archaeology of Western India. London: The British Academy, p. 34.
                          22  Eivind Heldaas Seland. (2014). Archaeology of Trade in the Western Indian Ocean, 300 BC-AD 700.
                   Journal of Archaeological Research, 22 (4), p. 373.
                          23  ผาสุข อินทราวุธ. ทวารวดี การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี, หน้า51.
                          24  Paul Wheatley. (1975). Satyanrta in Suvarnadvipa: From reciprocity to redistribution in ancient South-
                   east Asia. Ancient Civilization and Trade. Albuquerque : University of New Mexico Press, p. 238-239.
                          25  สำริด คือ โลหะที่มีส่วนผสมของทองแดงเป็นหลัก และช่างตั้งใจที่จะผสมแร่ดีบุกลงไปด้วย โดยทั่วไปคุณสมบัติที่
                   เหมาะสมสำหรับทำเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับสำริด จะใช้ดีบุกผสมราว 10-15 % แต่บางครั้งช่างตั้งใจที่จะใส่ดีบุกลงไปถึง 20
                   % ทำให้ผิวสำริดมีความขาวและมันวาว เรียกกันว่า สำริดซึ่งมีค่าดีบุกสูง (High-tin bronze) นิยมนำไปหล่อเป็นเครื่องประดับ
   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131