Page 115 - 001
P. 115
104
การปกครองและบริหารจัดการ
5
1. กษัตริย์ในราชวงศ์กุษาณะมีฐานะเป็นสมมติเทพ เห็นได้จากการใช้คำว่า เทวบุตร
(Devaputra) แสดงบรรดาศักดิ์ของพระองค์ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าแนวคิดดังกล่าวนั้นได้รับ
6
การถ่ายทอดมาจากอาณาจักรที่กุษาณะมีความสัมพนธ์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย เปอร์เซีย
ั
หรือโรมัน ล้วนมีวัฒนธรรมทางการเมืองที่ยกผู้นำหรือกษัตริย์ของตนเองให้อยู่ในฐานะของ
“พระผู้เป็นเจ้าที่อยู่ในร่างมนุษย์” หรือ “บุตรของพระผู้เป็นเจ้าที่ได้รับบัญชามาจากสวรรค์”
ทั้งสิ้น ทั้งนี้ ตั้งแต่รัชกาลของพระเจ้าวีมะ (Vima : ราวพ.ศ. 633 –643,ค.ศ. 90-100 ) เป็นต้น
มา คำเรียกพระเจ้าแผ่นดินก็ดูสูงส่งขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งคำเรียกต่างๆล้วนมาจากอาณาจักรที่กุษาณะมี
ความสัมพนธ์ด้วย เป็นต้นว่า “มหาราชา” หรือ “ราชาติราชา” จากอินเดีย “ṣaonano ṣao”
ั
จากเปอร์เซีย “Basileus Basileon” จากกรีก และ “Kaisara” เทียบเท่ากับซีซ่าร์ (Caesar)
7
ของโรมัน
2. พระเจ้าแผ่นดินมีฐานะเป็นผู้นำกองทัพด้วยเช่นเดียวกัน เห็นได้จากการควบ
ตำแหน่ง“มหาเสนา” (Mahasena) หรือ ผู้ควบคุมกองทัพ อย่างไรก็ดี แม้อำนาจจะอยู่ในมือ
ของพระองค์แต่เพียงผู้เดียว แต่พระองค์มีสภามนตรีเป็นที่ปรึกษา แต่ละตำแหน่งลดหลั่นกันไป
ตามลำดับชั้นอาวุโส ในขณะที่ดินแดนอันกว้างใหญ่ของกุษาณะได้แบ่งการปกครองเป็น “สตรา
พ” (satrapies) หรือจังหวัด แต่ละสตราพมีผู้ปกครองที่เรียกว่า “กษัตรปะ” (Kshatrapas)
ี
ี
โดยผู้ปกครองลักษณะนี้จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1) ประเภทที่พระเจ้าแผ่นดินส่งไปปกครอง
เมืองและอยู่ภายใต้การดูแลของพระองค์ และ 2) เป็นผู้สืบสายเลือดมาจากเจ้าผู้ครองนครเดิม
อันมีสิทธิ์ชอบธรรมในพื้นที่
ดังนั้น รูปแบบในการปกครองและการบริหารจัดการอาณาจักรของราชวงศ์กุษาณะจึง
เป็นการผสมผสานกันระหว่างระบบราชการ (bureaucratic) เนื่องจากมีสายบังคับบัญชาเป็น
ลำดับหน้าที่ที่ชัดเจน กับระบบศักดินา (feudal) เพราะมีการแบ่งชนชั้นตามหน้าที่และฐานะ
ของแต่ละบุคคล
เงินตรา
ราชวงศ์กุษาณะผลิตเหรียญออกมาเป็นจำนวนมากแต่เนื่องจากแร่เงินเป็นโลหะที่หา
ยากในอาณาจักร เหรียญส่วนใหญ่ที่ผลิตออกมาจึงเป็นเหรียญทองคำและทองแดงตอกลาย
เหรียญในราชวงศ์กุษาณะที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในอินเดียเป็นของกุจุลา กัดฟส ปฐมกษัตริย์ของ
ิ
ราชวงศ์นี้ โดยรูปแบบเหรียญส่วนใหญ่ของพระองค์จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับเหรียญในยุค -
5
แปลว่า บุตรแห่งพระเจ้า (Sons of God)
6 Shazia Shafiqjan. (2006). A Study of Kushan rule in Kashmir. Thesis submitted to the University of
Kashmir, p. 41.
7 B.N.Puri. The Kushans. History of Civilizations of Central Asia, p. 252-253.