Page 116 - 001
P. 116

105


                                                           8
                   เฮเลนิสติก (Hellenistic) ในอารยธรรมกรีก  กล่าวคือ เหรียญด้านหนึ่งทำเป็นภาพนูนรูป
                   พระองค์ครึ่งท่อน ส่วนเหรียญอีกด้านจะเป็นพระนามและพระยศเหมือนกับเหรียญของกรีก
                   เนื่องจากบรรพบุรุษของพระองค์ได้เคยตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบแบคเตรีย (Bactria) ซึ่งอุดมไปด้วย
                                                                             ื้
                   อารยธรรมกรีก อย่างไรก็ดี พระองค์ยังได้ยืมรูปแบบเหรียญจากพนที่ต่างๆที่พระองค์ได้เข้าไป
                   ครอบครองหรือมีปฏิสัมพนธ์ด้วย ซึ่งเหรียญต่างๆเหล่านี้ทำให้นักประวัติศาสตร์ได้เข้าใจถึงการ
                                          ั
                   แผ่ขยายอำนาจของราชวงศ์กุษาณะในอดีตได้ดีมากขึ้นอีกด้วย


                   การนับถือศาสนา
                          หลักฐานการนับถือศาสนาของกุษาณะมักปรากฏร่องรอยจากเหรียญของราชวงศ์ ซึ่งดู

                   เหมือนว่าราชวงศ์กุษาณะไม่ได้ยกศาสนาใดศาสนาหนึ่งขึ้นเป็นศาสนาประจำชาติ ดังนั้น จึง
                   ปรากฏวัฒนธรรมการนับถือศาสนาที่หลากหลาย แล้วแต่กษัตริย์แต่ละองค์จะอุปถัมภ์ ทั้งนี้

                             ื้
                   เนื่องจากพนที่ที่กุษาณะเข้าครอบครองล้วนมีความแตกต่างกันทางความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็น
                   เปอร์เซียซึ่งนับถือโซโรแอสเตอร์ แบคเตรียที่มีวัฒนธรรมของกรีกที่นับถือเทพเจ้า อินเดียที่นับ
                   ถือศาสนาพราหมณ์และศาสนาพทธ กษัตริย์กุษาณะจึงอุปถัมภ์และอ้างอิงศาสนาต่างๆเหล่านี้
                                                ุ
                                                                                        ี
                   เพอให้เกิดความชอบธรรมในการปกครองพนที่ เราจึงพบเห็นรูปเทพและเทพในศาสนาต่างๆ
                     ื่
                                                          ื้
                   มากกว่า 30 องค์บนเหรียญ อย่างไรก็ดี กษัตริย์บางพระองค์ได้แสดงตนอย่างชัดเจนว่ายกย่อง
                   ศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น พระเจ้ากนิษกะ ทรงเป็นพุทธมามกะ เห็นได้จากเหรียญใน
                   สมัยของพระองค์ที่ด้านหนึ่งเป็นรูปพระองค์ประทับยืน ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นรูปบุคคลสวมผ้า
                   คล้ายจีวร มีจารึกเป็นภาษากรีกกำกับว่า “Boddo” ซึ่งหมายถึง “Buddha” หรือพระพทธเจ้า
                                                                                                ุ
                   นั่นเอง
                                                                                            9
                          ในสมัยของพระเจ้ากนิษกะยังได้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 4 ขึ้น  เนื่องจาก
                   พระองค์ทรงเห็นว่าพุทธศาสนาในเวลานั้น แตกแยกเป็นนิกายต่างๆถึง 18 นิกาย แต่ละนิกายมี
                   ความเห็นในหลักธรรมที่สำคัญในหลายเรื่องต่างกัน จึงสมควรที่จะมีการชำระตรวจสอบคำสั่ง
                   สอนของพระพุทธเจ้าให้ถูกต้อง เพื่อที่จะได้เป็นแบบแผนและหลักฐานซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาความ

                   ขัดแย้งระหว่างนิกายต่างๆได้













                          8  สมัยเฮเลนิสติก (Hellenistic) เป็นยุคที่ถือเป็นจุดสูงสุดของอารยธรรมกรีกโบราณ เริ่มขึ้นเมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหา
                   ราชได้รับชัยชนะต่อจักรวรรดิเปอร์เซีย และเริ่มแผ่อิทธิพลอารยธรรมกรีกไปในบริเวณเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ (ตะวันออกกลาง) และทาง
                   ตะวันออกเฉียงเหนือของแอฟริกา อันได้แก่อียิปต์โบราณ ยุคเฮเลนิสติกจึงเป็นยุคที่อารยธรรมกรีกได้แยกตัวออกออกมาจากความเป็น
                   กรีกดั้งเดิมและผสมผสานกับอารยธรรมภายนอกซึ่งเป็นอารยธรรมของอนารยชน ซึ่งยุคสมัยดังกล่าวนี้ยาวนานมาจนถึงสมัยการก่อตัว
                   ของจักรวรรดิโรมันเลยทีเดียว
                          9  การสังคายนาครั้งนี้เป็นการสังคายนาของฝ่ายมหายาน ทางฝ่ายเถรวาทจึงไม่นับการสังคายนาในครั้งนี้ด้วย แต่ไปนับว่า
                                           ั
                   ครั้งที่ 4 เกิดขึ้นที่เมืองอนุราธปุระ ในลงกาเมื่อพุทธศักราช 238
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121