Bahrain Information Center

ศูนย์สารสนเทศบาห์เรน หรือ  “His Royal Highness Prince Khalifa Bin Salman Al Khalifa” Bahrain Information Center ตั้งอยู่ที่ ฝ่ายหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ อาคารสำนักวิทยบริการ ชั้น 2 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ประวัติความเป็นมา

สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้รับงบประมาณจากกองทุน His Royal Highness Prince Khalifa Bin Salman Al Khalifa มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศบาห์เรน “His Royal Highness Prince Khalifa Bin Salman Al Khalifa” Bahrain Information Center  เพื่อสนับสนุนภารกิจที่เกี่ยวกับประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง และเป็นแหล่งเรียนรู้สารสนเทศเกี่ยวกับราชอาณาจักรบาห์เรนและภูมิภาคตะวันออกกลาง มีสารสนเทศที่ให้บริการ ประกอบด้วยสื่อสิ่งพิมพ์  สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และฐานข้อมูลออนไลน์ มีพื้นที่บริการ 384 ตารางเมตร ที่นั่งอ่านหนังสือ 220 ที่นั่ง เปิดให้บริการ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 และทำพิธีเปิดในวันที่ 12 กันยายน 2561

ความเป็นมาของกองทุน His Royal Highness Prince Khalifa Bin Salman Al Khalifa มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีดังนี้

His Royal Highness Prince Khalifa Bin Salman Al Khalifa นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรบาห์เรน ได้พระราชทานงบประมาณในการสนับสนุนภารกิจของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งคณะกรรมการบริหารกองทุน His Royal Highness Prince Khalifa Bin Salman Al Khalifa ซึ่งมีอธิการบดีเป็นประธานกรรมการบริหารกองทุนฯ ได้ดำเนินการจัดสรรเงินตามวัตถุประสงค์ของกองทุน จำนวน 6 วัตถุประสงค์ คือ

  1. สนับสนุนโครงการต้นกล้าสงขลานครินทร์ จัดสรรทุนให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนในจังหวัดภาคใต้ที่มีผลการเรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ จังหวัดละ 1 ทุน
  2. สนับสนุนทุนให้แก่นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยจัดสรรทุนให้แก่นักศึกษาทุกวิทยาเขตที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์
  3. สนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวกับ “ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” ในการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศบาห์เรน และได้รับพระราชทานชื่อ “His Royal Highness Prince Khalifa Bin Salman Al Khalifa” Bahrain Information Center
  4. สนับสนุนความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในราชอาณาจักรบาห์เรน
  5. สนับสนุนทุนวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา His Royal Highness Prince Khalifa bin Salman Al Khalifa ที่ศึกษาเกี่ยวกับราชอาณาจักรบาห์เรน
  6. สนับสนุนทุนในการดำเนินงานด้านบาห์เรนศึกษา

การขอใช้บริการและเงื่อนไข

การบริการและกิจกรรมของศูนย์สารสนเทศบาห์เรน

          1. การบริการพื้นที่อ่านหนังสือ สำนักวิทยบริการเริ่มให้บริการใช้พื้นที่นั่งอ่านบริเวณศูนย์สารสนเทศบาห์เรน ตั้งแต่ตุลาคม 2560 เป็นต้นมา มีจำนวน 220 ที่นั่ง

2. การบริการสารสนเทศเกี่ยวกับประเทศบาห์เรนและตะวันออกกลาง ทั้งในรูปแบบสิ่งพิมพ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และฐานข้อมูลออนไลน์

2.1 การบริการสิ่งพิมพ์ หนังสือและบทความวารสารที่มีให้บริการในหอสมุดฯ และที่ได้รับบริจาค

              2.2 การบริการฐานข้อมูล Early Arabic Printed Books from the British Library (1475-1900)

ฐานข้อมูล Early Arabic Printed Books from the British Library (1475-1900) รวบรวมข้อมูล ที่เป็น Primary sources  ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15-19 จาก British Library เกี่ยวกับตะวันออกกลางและโลกแห่งมุสลิม ในด้านต่างๆ เช่น ศาสนาอิสลาม ประวัติศาสตร์ ภาษา วรรณกรรม ปรัชญา และวิทยาศาสตร์ มีข้อมูลประมาณ 2.5 ล้านหน้า สืบค้นเนื้อหาได้ในรูปแบบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) ได้จากภาษาอาหรับภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาละติน ภาษาอิตาลี ภาษาเนเธอแลนด์ ภาษาสเปน และยังสามารถพบเนื้อหาที่เขียนด้วยภาษาดังต่อไปนี้ ภาษากรีก ภาษาฮีบรู ภาษาฮินดี ภาษาตุรกีออตโตมัน ภาษาเปอร์เซีย ภาษาซีรีแอก และอีกกว่า 17 ภาษาด้วยกัน ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญต่อห้องสมุดส่วนใหญ่ในดินแดนตะวันออกกลางและสถาบันต่างๆ ทั่วโลกที่ต้องการทางด้านอาหรับเพื่อใช้ในการค้นคว้าวิจัยตลอดจนใช้ในการเรียนการสอนด้วย

2.3 Free e-Books หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับประเทศบาห์เรนและตะวันออกกลางที่ให้บริการแบบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย จำนวนประมาณ 500 รายชื่อ

       นอกจากนี้ศูนย์ฯ ยังมีกิจกรรมส่งเสริมการใช้บริการ ประกอบด้วย นิทรรศการแนะนำประเทศบาห์เรน และความร่วมมือไทย-บาห์เรน กิจกรรมตอบคำถามเกี่ยวกับประเทศบาห์เรน และอื่น ๆ

ติดตามข่าวสารได้ทาง Click

Contact Us