Page 78 - 2564
P. 78

เรียนรวมให้เป็นระบบ Hybrid Learning และ Smart Learning เปิดสถานีการเรียนรู้นอกห้องสมุดให้แหล่ง

               เรียนรู้ด้านเกษตรเพื่อการพึ่งพาตนเอง และจัดทำ Techno Learning Space ได้แก่ ห้อง E-Learning
               Studio, E-Learning Agency และ ห้อง Virtual Reality/Mix Reality ผลประเมินความพึงพอใจของ

               ผู้ใช้บริการ 3 ปี (พ.ศ. 2562-2563) อยู่ในระดับดีมาก คือ 93.15, 91.70 และ 92.60 ตามลำดับ

               (ภาพที่ 7.2-01)

                       ผลงานนวัตกรรมเด่น ได้แก่ ระบบ OAR VR ระบบสำนักวิทยบริการเสมือนจริง, ระบบสืบค้น

               ทรัพยากรสารสนเทศผ่านช่องทางเดียวของสำนักวิทยบริการ (OAR One Search), ให้บริการยืมหนังสือผ่าน
               ระบบออนไลน์ในช่วง COVID-19, ระบบการเข้าถึงวารสารออนไลน์ของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ JFK

               Journals : Online Shelf, โปรแกรมจำลองหนังสือ e-book, โปรแกรมช่วยเขียนสารบัญ Tag 505, ระบบ

               ตรวจสอบหนี้สิน, วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกการยืมทรัพยากรสารสนเทศผู้ใช้บริการด้วย Microsoft Power BI,
               การกำจัดเชื้อไวรัสด้วยแสงยูวีภายในตัวเล่มหนังสือ และเครื่องทำลายหลอดไฟ สำนักวิทยบริการ ผลการ

               ประเมินนวัตกรรมโดยรวม ร้อยละ 89.80 ภาพที่ 7.1-16

               4.2 การจัดการสารสนเทศ และการจัดการความรู้


               4.2ก ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักฯ ได้ให้ความสำคัญกับข้อมูลและสารสนเทศ โดยผู้บริหารระดับสูงกำหนด
               นโยบายการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อให้มั่นใจถึงคุณภาพของข้อมูลและสารสนเทศให้มีคุณภาพและพร้อมใช้

               งาน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ MT ร่วมกับคณะกรรมการ INT และกลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศรับผิดชอบ
               จัดการระบบฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เครือข่าย และอบรมให้ความรู้กับบุคลากร ผู้ใช้บริการ ดำเนินการจัดทำระบบ

               ฐานข้อมูลเพื่อจัดเก็บผลการปฏิบัติงานขององค์กรและทำให้สารสนเทศและความรู้ที่ได้มีความแม่นยำ ถูกต้อง

               เชื่อถือได้ ทันเวลา ปลอดภัยและเป็นความลับมีการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงตามระดับ รวมทั้งมีการจัดทำแผน
               ป้องกันเหตุฉุกเฉิน แผนบริหารความต่อเนื่องกรณีต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับข้อมูลและสารสนเทศ โดยมีกำหนด

                                                                                                ื่
               ระยะเวลาการซักซ้อมและทบทวน ปรับปรุงแผนป้องกันเหตุฉุกเฉินและแผนบริหารความต่อเนื่อง เพอให้มั่นใจได้
               ว่า ข้อมูล สารสนเทศ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากร และระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ มีความพร้อมใช้งานอย่าง

               ต่อเนื่องตามหลัก FOREST โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนของโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ และส่วนของ

               ระบบสารสนเทศที่สำนักฯ พัฒนาเพื่อให้บริการแก่นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร บุคคลทั่วไป ชุมชน และผู้มีส่วนได้
               ส่วนเสีย โดยคณะกรรมการ MT และคณะกรรมการ INT ทบทวนกระบวนการดำเนินการทุกปี



















                 62                                                     หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83