Page 74 - 2564
P. 74

ประเภทข้อมูลและ                                    ความถี่ในการ
                   ระดับ                               แหล่งที่มาข้อมูล                        ผู้รวบรวม
                                สารสนเทศ                                          ติดตาม
                            ข้อมูล/สารสนเทศ   ระบบสารสนเทศผลการดำเนินงานและ    6 เดือนครั้ง   คณะกรรมการ
                            ภายนอกองค์กร      ระบบสารสนเทศผลการดำเนินงานเทียบคู่             บริหาร/งาน
                                              เทียบ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง                    วางแผน


               4.1ก(2) ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ รูปแบบการจัดการข้อมูลและสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบที่สำคัญของสำนักฯ
               ดำเนินการโดยผู้บริหารระดับสูงกำหนดนโยบายในการคัดเลือกข้อมูลและสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบที่สำคัญ

               และมอบหมายให้คณะกรรมการ TQA ดำเนินการโดยพิจารณาจาก 1) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของแผนกล

               ยุทธ์ 2) วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ และ 3) ความสามารถในการแข่งขันกับคู่เทียบที่กำหนดใน OP นำข้อมูล
               เปรียบเทียบมาใช้ในการกำหนดค่าคาดการณ์ โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานในอดีตและกำหนดค่า

               คาดการณ์ในระดับท้าทายให้สูงกว่าผลการดำเนินการขององค์กรและคู่เทียบที่ผ่านมา โดยมอบหมายให้
               หัวหน้าฝ่ายใช้กำหนดเป้าหมายระดับองค์กรลงสู่ระดับฝ่าย ระดับงาน และระดับบุคคล ดำเนินการปีละครั้ง ใน

               ระดับปฏิบัติการนำข้อมูลเชิงเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการทำงานและค้นหาโอกาสในการสร้าง

               นวัตกรรมทุก 6 เดือน โดยคณะกรรมการ INT กำหนดเป้าหมาย ค้นหาและสร้างเครื่องมือในการปรับปรุง
               กระบวนการทำงานและสร้างนวัตกรรม จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กรและคู่เทียบ และนำ

               เครื่องมือ Lean, PDCA-Par, Kaizen และแนวการนำองค์กรแบบ FOREST มาใช้ปรับปรุงกระบวนการทำงาน
               ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ของฝ่ายเทคโนฯ เมื่อเทียบต้นทุนกับ

               ร้านค้าภายนอก พบว่าบางรายการแพงกว่าร้านค้าภายนอกประมาณร้อยละ 15 สำนักฯ จึงหาแนวทางในการ

               ลดต้นทุน โดยซื้อวัสดุจำนวนมากเพื่อให้ได้ราคาที่ถูกกว่า นอกจากนี้ยังได้พัฒนากระบวนการ ลดขั้นตอนการ
               ทำงาน ใช้ระยะเวลาสั้นกว่าร้านค้าภายนอก ส่งผลให้ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อการผลิตสื่อการเรียนรูโดย
                                                                                                      ้
               เฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 97.17, 98.09, 98.92, 99.20 ในปี พ.ศ. 2561, 2562, 2563 และ 2564

               ตามลำดับ

               4.1ก(3) ความคล่องตัวของการวัดผล สำนักฯ โดยคณะกรรมการ MT กำหนดให้คณะกรรมการ TQA จัดทำ

               และทบทวนระบบการวัดผลการดำเนินการตามรูปแบบการทบทวนผลการดำเนินการ (ภาพที่ 4.1-04) มีการ
               ทบทวนแผนกลยุทธ์ทุกปี มีการติดตามผลการดำเนินงานเป็นรายไตรมาส โดยนำข้อมูลผลการดำเนินการระดับ

               องค์กร ระดับฝ่าย ระดับกลุ่มงานและระดับบุคคล มาใช้ในการพิจารณาทบทวนปรับเปลี่ยนกลยุทธ์
               เป้าประสงค์ แผนปฏิบัติงาน รวมถึงตัวชี้วัดผลการดำเนินการ สำนักฯ ได้พัฒนาปรับปรุงระบบติดตามผลการ

               ดำเนินงานตาม KPIs และระบบ SDSS และระบบอื่น ๆ ดังตารางที่ 4.2-04 เพื่อจัดเก็บผลการดำเนินการแบบ

               เป็นปัจจุบัน (Real Time)  ให้หัวหน้าฝ่าย หัวหน้ากลุ่มงาน เจ้าของกระบวนการสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่าง
               รวดเร็ว สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์และปรับปรุงการดำเนินงานได้ทันท่วงที ยกตัวอย่างเช่น ฝ่ายหอสมุดฯ

               ใช้สารสนเทศจากระบบ SDSS มาประกอบการตัดสินใจ เช่น การปรับเปลี่ยนช่วงเวลา โซนและจำนวนที่นั่ง
               เปิดให้บริการแบบ onsite ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ และจัดบุคลากรปฏิบัติงานประจำจุดบริการให้

               เหมาะสมตามจำนวนผู้เข้าใช้บริการ ทั้งนี้ผู้ใช้บริการ Online Services ได้ทุกที่ทุกเวลา ในส่วนของฝ่าย

               เทคโนฯ ใช้สารสนเทศจากระบบ SDSS มาตัดสินใจในการกำหนดเกณฑ์การผลิตเอกสารประกอบคำสอนให้
               เหมาะสม หากพบความเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อความสำเร็จทั้งภายในและภายนอก คณะกรรมการ MT พร้อม


                 58                                                     หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79