Page 388 - การศึกษาวิเคราะห์หนังสืออะกีดะฮฺ อันนาญีน ฟี อิลมฺ อุศูล อัดดีน ของชัยคฺ ซัยนฺ อัลอาบิดีน เบ็น มุฮัมมัด อัลฟะฏอนีย์
P. 388

366







                       5.2   อภิปรายผล


                                                                                   ์
                                     จากการวิจัยหัวข้อ “การศึกษาวิเคราะห์หนังสืออะกีดะฮ  อันนาญีน ฟี อิลมฺ อุศูล
                       อัดดีน ของชัยคฺ ซัยนฺ อัลอาบิดีน เบ็น มุฮัมมัด อัลฟะฏอนีย์”  .ผู้วิจัยเห็นควรนํามา อภิปรายผล

                       ดังต่อไปนี้

                                     1. ต่วนมีนาลเป็นอุละมาอ์ป๎ตตานีท่านหนึ่งที่มีความรู้ ความสามารถในการถ่ายทอด
                       และแต่งตําราอิสลามในสาขาต่าง ๆ จนได้รับการยกย่องชมเชยจากสังคมด้วยชื่ออันทรงเกียาติต่าง ๆ

                       เช่น อัลอาลิม อัลอัลลามะฮ์ อัลมุดักกิก อัลฟะฮฺฮฺามะฮ  สิรอํุลอิสลาม  วัดดีน, อัลอาลิม อัลฟาฎิล
                                                                   ์
                       วัลฮิบรุ อัลกามิล สอดคล้องกับงานวิจัยของอะฮมัด เบ็น อิสมาอีล  (Ahmad bin Ismā„īl Dorla, 2010
                       :  51) การได้รับตําแหน่งของท่านเหมือนกับชัยคฺ ดาวูด อัลฟะฏอนีย์  (Dāwūd  al-Fatāniy,  n.d.  :  1)

                       ถ้าหากท่านไม่มีความรู้และความสามารถจริง แน่นอนท่านจะไม่ได้รับตําแหน่งอันทรงเกียาติเหล่านี้
                                     2..หนังสืออะกีดะฮ์ อันนาญีน เป็นหนังสืออะกีดะฮ์หรืออุศูลุดดีนตามแนวทาง

                       ของอัลอะชาอิเราะฮ์ที่อธิบายเตาฮีดโดยใช้หลักฐานจากอัลกุรอานหรืออัลฮะดีษเป็นหลักแล้วตามด้วย

                       หลักฐานจากทางสติป๎ญญาในการยืนหยัด ซึ่งแตกต่างกับหนังสืออะกีดะฮ์ตามแนวเคาะลัฟเล่มอื่น ๆ
                       เช่น หนังสืออัลฮุศูน อัลฮะมีดิยยะฮ์ที่แต่งโดย ฮุสัยนฺ อัลญิสรฺ ที่ให้ความสําคัญกับหลักฐานทาง

                       สติป๎ญญาเป็นหลักในการยืนหยัด การใช้หลักฐานจากอัลกุรอานหรืออัลฮะดีษในการยืนหยัด
                       สอดคล้องกับการอธิบายของหนังสืออะกีดะฮ์ตามแนวสะลัฟ เช่น หนังสืออัลอิบานะฮ์ อัน อุศูล

                       อัดดิยานะฮ์ โดยอิมาม อะบู อัลฮะสัน อัลอัชอะรีย์

                                     3. การอบรมบุตรให้รู้จักพระองค์อัลลอฮ์ผู้ทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริงจะเป็นการ
                       สร้างพื้นฐานให้กับเด็กให้สงบสุขมั่นคงในชีวิต ทั้งนี้เพราะเป็นความรู้สูงสุดในการอธิบายความจริงของ

                       ชีวิตทั้งหมด ในทางตรงกันข้ามชิริกหรือการตั้งภาคีเป็นรูปแบบแนวคิดที่ขัดแย้งในตัวมันเองและสร้าง
                       ความสับสนในจิตใจมนุษย์อย่างมาก เพราะชิริกทําให้คําอธิบายชีวิตสับสนอย่างรุนแรง  มิอาจยอมรับ

                       โลกและชีวิตที่เป็นอยู่นี้ได้เช่นกัน

                                     การอบรมบุตรเพื่อรู้จักพระองค์อัลลอฮ์โดยแท้จริงและห้ามไม่ให้ตั้งภาคีต่อพระองค์
                       สอดคล้องกับอายะฮ์ที่ 13 สูเราะฮ์ลุกมาน อัลลอฮ ตรัสว่า :
                                                                ์

                                             ﭼ ﭴ  ﭳ    ﭲ  ﭱ  ﭰﭯ  ﭮ  ﭭ  ﭬ  ﭫ   ﭪ  ﭩ  ﭨ   ﭧ  ﭦ     ﭽ

                                     ความว่า : “และจงรําลึกถึง เมื่อลุกมานได้กล่าวแก่บุตรของเขาโดยสั่งสอน
                                     เขาว่า โอ้ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าได้ตั้งภาคีใดๆ ต่ออัลลอฮ์ เพราะแท้จริงการตั้งภาคี

                                     นั้นเป็นความผิดอย่างมหันต์โดยแน่นอน”

                                     การปลูกฝ๎งบุตรด้วยอะกีดะฮ์สอดคลองกับการปลูกฝ๎งของท่านนะบีมุฮัมมัดในตัวลูก
                       ของลุงของท่านอับดุลลอฮ์ ดังรายงานจากอับดุลลอฮ์ เบ็น อับบาส  กล่าวว่า :
   383   384   385   386   387   388   389   390   391   392   393