Page 384 - การศึกษาวิเคราะห์หนังสืออะกีดะฮฺ อันนาญีน ฟี อิลมฺ อุศูล อัดดีน ของชัยคฺ ซัยนฺ อัลอาบิดีน เบ็น มุฮัมมัด อัลฟะฏอนีย์
P. 384

362







                       หลักการวิชาความรู้นั้นมี 10 ประการ ได้แก่ นิยามวิชา, หัวข้อเรื่อง, ประโยชน์ของการศึกษา, ความ
                       ประเสริฐของวิชา, ความสําคัญของวิชา, ผู้ริเริ่มวิชา ชื่อวิชา ฮุกุ่มว่าด้วยวิชา และประเด็นป๎ญญาที่

                       ศึกษาในวิชา
                                     ต่วนมีนาลได้กล่าวถึงความรู้และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความรู้ดังนี้ คือ การได้มาซึ่งความรู้

                       การตักลีด ฮุกุ่มการศึกษาอุศูลุดดีน และเรื่องราวดะฮฺรี

                                     การได้มาซึ่งความรู้มี 3 สาเหตุ ได้แก่ เคาะบัรที่สัจจริง หมายถึง คําตรัสของอัลลอฮ์
                        และวัจนของท่านเราะสูลุลลอฮ์ สติป๎ญญาที่หลักแหลม และอัวยวะสัมผัสทั้งห้าที่สมบูรณ์ กล่าวคือ

                       ดวงตา หู จมูก ลี้น และผิวสัมผัส
                                     การตักลีดในเรื่องอะกีดะฮ์มีทัศนะอุละมาอ์ที่แตกต่างกัน แต่ทัศนะที่มีน้ําหนักที่สุด

                       ได้แก่ ทัศนะที่กล่าวว่า สิ่งที่วาญิบสําหรับมุกัลสัฟในเรื่องอะกีดะฮ์ คือ การตั้งใจอย่างแน่วแน่ (ญะซัม)

                       กล่าวคือ ไม่มีการสงสัยหรือลังเลใจ ดังนั้น การศรัทธาที่ตั้งใจอย่างแน่วแน่ไม่ว่าจะตักลีดผู้อื่นหรือไม่
                       ตักลีดก็ตาม การศรัทธาของเขาคือถูกต้อง เพราะมนุษย์ทุกเกิดมาบนพื้นฐานความบริสุทธิ์แห่ง

                       สัญชาตญาณ

                                     การศึกษาวิชาอุศูลุดดีนเป็นฟ๎รฎูอัยนกับมุกัลลัฟทุกคนทั้งที่เป็นผู้ชายและผู้หญิงด้วย
                       หลักฐานโดยภาพรวม ส่วนด้วยหลักฐานโดยรายละเอียดนั้นเป็นฟ๎รฎูกิยะฮ์ โดยเงื่อนไข 4 ประการ

                       ดว้ยกัน คือ การมีสติป๎ญญา  การบรรลุนิติภาวะ  สมบูรณ์ด้านประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งการฟ๎ง
                       หรือการเห็น และการมาถึงของการดะอฺวะฮ
                                                          ์
                                     การนําเสนอเรื่องราวดะฮฺรีเป็นการยกตัวอย่างประกอบการอธิบายฮุก่มฟ๎รฎู

                       กิฟายะฮ์ กล่าวคือ ในเมืองหนึ่ง ๆ จะต้องมีผู้รู้ที่สามารถอธิบาย ยืนหยัดหลักฐาน ปกป้อง และโต้แย้ง
                       กับความคลุมเครือต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องอะกีดะฮ์อย่างกรณีเรื่องราวดะฮฺรี

                                     การแบ่งฮุกุ่มโดยพิจารณาอิษบาตหรือนัฟยุเป็นที่ตั้งมี 3 ประเภทคือ ฮุกุ่มอักลีย์
                       ฮุกุ่มอาดัต และฮุกุ่มชัรอีย์  ฮุกุ่มอักลีย์ หมายถึง การยืนหยัดต่อสิ่งหนึ่งหรือการปฏิเสธต่อสิ่งหนึ่งตาม

                       นัยแห่งความคิด โดยไม่ได้คํานึงถึงบทบัญญัติและการทดลองหลาย ๆ ครั้ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท

                       ได้แก่ วาญิบ มุสตะฮีล และญาอิซ  ฮุกุ่มอาดัต หมายถึง การยอมรับหรือปฏิเสธต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดย
                       ผ่านกระบวนการพิสูตรหรือทดลองมาหลาย ๆ ครั้ง และฮุกุ่มชัรอีย์ หมายถึง คําตรัสของอัลลอฮ์   ที่

                       เกี่ยวข้องกับการกระทําของบรรดามุกัลลัฟที่มีลักษณะเป็นการสั่งการให้ทํา หรือให้งดกระทํา หรือให้

                                                                            ี
                       เลือกระหว่างการกระทําและไม่กระทํา ซึ่งแบ่งออกเป็นฮุกุ่มตักลีฟย์และฮุกุ่มวัฎอีย์
                                     สิ่งที่วาญิบสําหรับมุกัลลัฟทุกคนต้องรู้และปฏิบัติคือ การเคารพภักดีหรือการ

                       อิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์  เพียงพระองค์เดียว และไม่อนุญาตให้กับผู้อื่นนอกเหนือจากพระองค์ เนื่องจาก

                       การอิบาดัฮ์ทุกประเถทเป็นสิทธิของอัลลอฮ  เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น
                                                          ์
   379   380   381   382   383   384   385   386   387   388   389