Page 90 - 001
P. 90

79


                          3.  ชาวอินเดียได้เรียนรู้มารยาทในราชสำนักจากเปอร์เซีย มารยาท ส่วนมากในราช

                   สำนักของพระเจ้าจันทรคุปต์แห่งราชวงศ์โมริยะได้รับอิทธิพลมาจากเปอร์เซีย
                          4.  การสร้างถนนหลวงเพื่อขยายเส้นทางทางการค้า ทั้งนี้กษัตริย์ในราชวงศ์อาคิมินิด
                   ของเปอร์เซียโปรดให้สร้างถนนหลวงเพื่อใช้ในการติดต่อระหว่างกันในอาณาจักรที่กว้างใหญ่ของ

                   พระองค์ ทำให้กษัตริย์ในราชวงศ์โมริยะได้เลียนแบบการสร้างถนนเพื่อเชื่อมเมืองหลวงกับเมือง
                   ต่างๆที่อยู่ห่างไกลออกไปในจักรวรรดิ ทั้งนี้ ถนนหลวงดังกล่าวนี้มีส่วนในการเสริมสร้าง

                                                                ื่
                   เศรษฐกิจของประเทศด้วย เนื่องจากมันถูกใช้เพอการติดต่อค้าขายทั้งในภูมิภาคและนอก
                   ภูมิภาค เป็นต้นว่า เส้นทางระหว่างเมืองปาฏลีบุตร (Pataliputra) เมืองหลวงของราชวงศ์โมริ
                   ยะ ไปจนถึงเมืองตักษิลา (Taxila) ซึ่งถนนหลวงที่สร้างขึ้นได้เชื่อมเมืองสำคัญต่างๆโดยรอบเข้า

                   ด้วยกัน หรือ เส้นทางการค้าที่แล่นจากเมืองปาฎลีบุตรไปยังเมืองภารหุต (Bharhut) วิทิสา
                                             10
                   (Vidisa) และเข้าสู่เมืองอุชเชน  ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าเครื่องประดับ โดยอาจต่อไปยังเมืองภรุ
                   กัจฉะอันเป็นเมืองท่าสำคัญที่ติดต่อกับโลกตะวันตก นอกจากนี้จากเมืองปาฏลีบุตรยังมีเส้นทาง
                   ไปเมืองจัมปา (Campa) เมืองท่าแม่น้ำโบราณอันจะต่อไปยังเมืองตามรลิปติ เมืองท่าสำคัญที่
                   ปากแม่น้ำคงคา จากเมืองนี้เรือสามารถแล่นไปจนถึงศรีลังกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้

                          5.  ลัทธิโซโลอัสเตอร์ของเปอร์เซีย ได้เข้ามามีอิทธิพลในคัมภีร์พระเวทของอินเดีย ซึ่ง
                   รวมไปถึงนักปราชญ์ทางด้านศาสนาที่ได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนกันในเชิงปรัชญาอีกด้วย

                          6.  เปอร์เซียได้ให้อิทธิพลทางศิลปะกับอินเดียไม่ว่าจะเป็นทางด้านสถาปัตยกรรม
                   ประติมากรรมและวิจิตรศิลป์ เห็นได้อย่างชัดเจนคือ เสาพระเจ้าอโศก ที่ได้เลียนแบบการสร้าง
                   เสาเพอใช้ประกาศบางสิ่งบางอย่างเป็นการถาวรแบบเปอร์เซีย โดยบนหัวเสาได้ทำ
                         ื่
                   ประติมากรรมเป็นรูปสัตว์ อาทิ สิงโต วัวและสัตว์อื่นๆคล้ายคลึงกับเสาของเปอร์เซีย แต่เสาของ
                   เปอร์เซียเป็นการสร้างขึ้นมาเพื่อจารึกเกียรติคุณของพระมหากษัตริย์ ในขณะที่เสาของพระเจ้า

                   อโศกสร้างขึ้นมาเพอจารึกคำสั่งสอนเกี่ยวกับศีลธรรมจรรยา เป็นหลักปฏิบัติที่บุคคลควรปฏิบัติ
                                    ื่
                   ตามเพื่อความสงบสุขของประเทศ


















                          10  Krishna Chandra Sagar. (1992). Foreign Influence in Ancient India. New Delhi: Northern Book Center, p.
                   31.
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95