Page 85 - 001
P. 85

74


                   ขึ้นอยู่กับความจำเป็น อาจมี 12,16,20  หรือมากกว่านั้นก็ได้ และไม่จำเป็นต้องอยู่ในเมืองหลวง

                   ทั้งหมด จะส่งไปตามหัวเมืองต่าง ๆ มนตรีเหล่านี้ต้องควบคุมส่วนราชการคนละส่วน เช่น บัญชี
                                     ์
                   ทรัพย์สิน ผลิตภัณฑจากป่าและสิ่งทอ การเพาะปลูก ปศุสัตว์ การค้าขาย การเก็บภาษี การคุม
                   ทัพทหาร และกองทหารราบ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งสำคัญอื่น ๆ เช่น ปุโรหิต  เป็น

                   พราหมณ์ คอยให้คำปรึกษา ในกรณีฉุกเฉินกษัตริย์จะต้องปรึกษากับมนตรีและคณะเสียก่อนที่
                   จะสั่งการอะไรลงไปได้ นั้นคือกษัตริย์ไม่สามารถทำอะไรลงไปโดยพลการ

                          ส่วนการปกครองตามระบอบสาธารณรัฐ ระบบนี้มีชื่อเรียกว่า คณะหรือหมู่ มีสภา
                   สมาชิกสภา  ประกอบด้วยผู้มีอาวุโส และคนหนุ่ม บรรดาสมาชิกจะประชุมกันเพื่อปรึกษาหารือ
                   เกี่ยวกับการปกครองรัฐ  ลักษณะของแต่ละสาธารณรัฐมีความแตกต่างกันคือ บางสาธารณรัฐ

                   ปกครองโดยเผ่าชนชาติสกุลของตน บางสาธารณรัฐมีการปกครองแบบประชาธิปไตย บาง
                   สาธารณรัฐรวมตระกูลต่าง ๆ มากมาย แต่บางสาธารณรัฐกำหนดเฉพาะตระกูลเดียวกัน  แต่ละ

                   สาธารณรัฐมีสภาของตนเอง สภาทำหน้าที่ร่างกฎหมาย กฎหมายที่จะนำออกมาใช้ได้นั้นต้อง
                   ได้รับเสียงเป็นเอกฉันท์  สภานั้นมีทั้งสภาส่วนกลางและส่วนประจำท้องถิ่น  หัวหน้าของรัฐซึ่ง
                   ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งชั่วคราว (มีกำหนดเป็นปี)  ทำหน้าที่หัวหน้าผู้บริหาร  หัวหน้า

                   สมาชิกสภาเรียกว่าราชัน ซึ่งสามารถแบ่งแคว้นต่าง ๆ ได้รายชื่อต่อไปนี้
                          1.  แคว้นอังคะ (Anga)  ตั้งอยู่ตอนปลายของแม่น้ำคงคา มีแม่น้ำเล็ก ๆ คือ แม่น้ำจัม

                   ปาไหลผ่าน มีเมืองหลวงชื่อมาลินี แคว้นอังคะสมัยพทธกาลเป็นแคว้นที่ใหญ่และรุ่งเรือง  เป็น
                                                                 ุ
                   ศูนย์กลางการค้าขายตอนหลังตกอยู่ภายใต้การปกครองของแคว้นมคธ
                          2.  แคว้นมคธ (Magadha)  เป็นแคว้นที่ยิ่งใหญ่และมีอำนาจทางการเมืองสูงสุดใน

                   สมัยพทธกาล  มีเมืองราชคฤห์เป็นเมืองหลวง  เป็นแคว้นแรกในบรรดา 16 แคว้น ที่ประสบ
                         ุ
                   ความสำเร็จในการสร้างความยิ่งใหญ่และความเป็นใหญ่ในภาคเหนือของอินเดียโบราณ กษัตริย์

                                                     ิ
                                                        ิ
                   ที่มีชื่อเสียงในแคว้นมคธคือ พระเจ้าพมพสาร  พระองค์ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยความสน
                   พระทัยในการปรับปรุงบ้านเมืองให้งดงาม ปรับปรุงการคมนาคมภายในประเทศ ปรับปรุงกอง
                   ทหารให้เข้มแข็ง  พระองค์รักสันติสุข และได้ทำสัมพันธไมตรีกับประเทศใกล้เคียง อย่างไรก็ตาม

                   พระเจ้าพมพสารได้ถูกพระราชโอรสคือพระจ้าอชาตศัตรูจับปลงพระชนม์และขึ้นครองราชย์
                               ิ
                            ิ
                               ุ
                                                                                                  ิ
                                                                                               ิ
                   แทน คัมภีร์พทธศาสนาและเชนได้บรรยายถึงความกว้างใหญ่ของแคว้นของพระเจ้าพมพสาร
                   และพระเจ้าอชาตศัตรูว่าคลุมพื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำคงคาทั้งหมด
                          3. แคว้นกาสี (Kasi)  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแคว้นมคธ มีเมืองหลวงชื่อว่าพาราณสี
                                                                  ุ
                   หรือวาราณสี (Varanasi หรือ Banaras)  ซึ่งในสมัยพทธกาลเป็นเมืองใหญ่และเจริญมาก เป็น
                   ศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ  นอกจากนี้แคว้นกาสียังเป็นศูนย์กลางของนักปราชญ์ต่าง ๆ ด้วย เมื่อ
                   ครั้งที่พระพทธเจ้าทางแสดงธรรมเป็นครั้งแรกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันก็อยู่ที่แคว้นกาสี ต่อมา
                             ุ
                   แคว้นกาสีได้ถูกปราบโดยแคว้นโกศล
                          4. แคว้นโกศล (Kosala)  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแคว้นมคธโดยมีแคว้น
                   กาสีคั่นอยู่ แคว้นนี้แบ่งออกเป็น 2 ภาค ภาคเหนือมีเมืองหลวงชื่อศราวัสตี ภาคใต้มีเมืองหลวง

                   ชื่อกุศาวตี เมื่อปราบแคว้นกาสีได้ทำให้โกศลมีอาณาเขตกว้างขวางมาก กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงของ
                   โกศลคือ พระเจ้าประเสนชิต ซึ่งอยู่ร่วมสมัยกับพระพทธเจ้า ในช่วงบั้นปลายของชีวิตพระเจ้า
                                                                   ุ
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90