Page 86 - 001
P. 86
75
ู
ู
ประเสนจิตได้ถูกโอรสคือวิฑฑภะยึดบัลลังก์และพระเจ้าวิฑฑภะนี้เองได้ปราบปรามพวกศากยะ
ซึ่งเป็นวงศ์ของพระพุทธเจ้าจนสิ้นชื่อ
5.แคว้นวัชชี (Vriji) ปกครองโดยระบอบสาธารณรัฐ ประกอบด้วยเผ่าวงศ์ต่าง ๆ 8-9
วงศ์ ด้วยกันที่สำคัญคือ วิเทหัน ลิชฉวี และวัชชี
6. แคว้นมัลละ (Malla) ปกครองโดยระบอบสาธารณรัฐ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของ
อินเดียมีอาณาเขตกว้างขวางมาก พวกนี้เจริญมากในยุคพุทธกาล มีเมืองสำคัญคือ เมืองกุสินารา
ุ
และปาวา หลังจากพระพทธเจ้าเสด็จสู่ปรินิพพานไม่นานนัก พวกมัลละก็ตกอยู่ใต้อำนาจของ
กษัตริย์มคธ
ิ
7. แคว้นเจท (Chedi) หรือเจติ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของรัฐวังสะและทิศตะวันตกเฉียงใต้
ของแคว้นกาสี ไม่มีบทบาทอะไรมากนัก ตอนหลังพวกนี้ไปตั้งแคว้นลังกะและปกครองตนเอง
8. แคว้นวัตสะ (Vatsa) แคว้นนี้รุ่งเรืองมาก มีชื่อเสียงในการผลิตผ้าฝ้าย มีเมืองหลวง
ชื่อโกสัมพี ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำยุมนา มีกษัตริย์ที่มีชื่อเสียงคือ พระเจ้าอุเทน เป็นกษัตริย์ที่
มีอำนาจมากและทรงโปรดการทำสงคราม ในคราวแรกพระเจ้าอุเทนต่อต้านพระพทธศาสนา
ุ
ุ
แต่ครั้นเวลาต่อมา พระองค์ทรงเลื่อมใสและกลายเป็นสาวกของพระพทธเจ้าและทรงทำให้
ุ
พระพทธศาสนาเป็นศาสนาประจำรัฐของพระองค์ เนื่องจากพระองค์ได้ทรงสนทนาหลักธรรม
ุ
ทางพระพทธศาสนากับพระปัณโฑลตชาเถระและพระอานนท์เถระ อย่างไรก็ตามหลังพุทธกาล
ไม่ค่อยได้ยินเรื่องราวของแคว้นนี้เท่าใดนัก
9. แคว้นกุรุ (Kuru) แคว้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของรัฐปัญจาละ มีเมืองหลวงชื่ออินท
ปัตตะ ซึ่งอยู่ใกล้กับเดลฮี
10. แคว้นปัญจาละ (Panchalas) อาณาจักนี้แบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ ภาคเหนือและ
ภาคใต้ โดยมีแม่น้ำภาคีรถีเป็นแดนแบ่งเขต ภาคเหนือมีเมืองหลวงชื่อว่าอหิจฉัตรและภาคใต้มี
เมืองหลวงคือ กามปิลยะ แคว้นปัญจาละในสมัยพุทธกาลไม่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา
มากนัก แต่ในช่วงพทธศตวรรษที่ 12 ภิกษุสงฆ์ชาวจีนนามว่าเหี้ยนจัง (Hiuen Tsang) ที่
ุ
เดินทางมากับพระพทธศาสนาในประเทศอินเดียในช่วงดังกล่าวได้บันทึกไว้ว่าเมืองอหิจฉัตรเป็น
ุ
ที่มั่นแห่งหนึ่งของพระพุทธศาสนา
11. แคว้นมัสยะ (Matsya) มีเมืองหลวงคือเมืองวิราฎนคร ไม่มีบทบาททางการเมือง
ในสมัยพุทธกาล
12. แคว้นสุรเสนะ (Surasena) มีเมืองหลวงอยู่ที่มถุราอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยุมนา พระเจ้า
อวันติบุตรกษัตริย์แห่งสุรเสนะ เป็นผู้สนับสนุนให้พุทธศาสนาโด่งดังในมถุรา
13. แคว้นอัสสกะ (Assaka) ตั้งอยู่ทางฝั่งใต้ของแม่น้ำโคทาวรี ไม่ค่อยมีบทบาททาง
การเมืองมากนัก
14. แคว้นอวันตี (Avanti) เป็นแคว้นที่สำคัญทางทิศตะวันตก เป็นหนึ่งในสี่แคว้นที่มี
ุ
อำนาจทางการเมืองในสมัยพทธกาล แบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ ภาคเหนือมีเมืองหลวงชื่ออุชเชนี
ุ
ุ
และภาคใต้มีเมืองหลวงชื่อมาหิศมาตี อวันตีเป็นศูนย์กลางพทธศาสนาที่สำคัญในยุคพทธกาล
ในช่วงหลังกลายเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นมคธ