Page 83 - 001
P. 83

72




























                                        ภาพที่ 26 ภาชนะดินเผาเขียนสีดำบนพื้นสีเทา

                   ที่มา : https://upload.wikimedia.org/ [Online] accessed 27 October 2018.

                   วัฒนธรรมการใช้ภาชนะดินเผาสีดำขัดมัน (Northern Black Polished Ware culture)

                          ภาชนะดินเผาสีดำขัดมัน หรือที่รู้จักกันในชื่อ NBPW ปรากฏขึ้นในช่วงเวลาคาบ
                   เกี่ยวกับช่วงสุดท้ายของภาชนะดินเผาเขียนสีดำบนพนสีเทา (PGW) หรือในราว 700 – 100 ปี
                                                                  ื้
                   ก่อนคริสตกาล มีวัฒนธรรมการใช้ตั้งแต่สมัยเหล็กตอนปลายจนถึงยุคประวัติศาสตร์ตอนต้น

                   และแม้จะได้รับการกำหนดชื่อว่า ภาชนะดินเผาสีดำขัดมันทางเหนือ แต่ในความเป็นจริงมันถูก
                                                ื้
                   พบในวงกว้างและหลากหลายพนที่ กล่าวคือ ทางเหนือไกลสุดถึงบริเวณหุบเขาสวัต (Swat
                   Valley) ประเทศปากีสถาน ทางใต้ไกลสุดถึงอนุราธปุระ (Anuradhapura) ในประเทศศรีลังกา
                   ทางตะวันตกไกลสุดถึงประภาส-ปาถาน (Prabhas-Pathan) ในแถบคุชราต และตะวันออกไกล
                                  4
                   สุดถึงบังกลาเทศ  (Bangladesh)
                          ภาชนะดินเผาสีดำขัดมันนี้ทำขึ้นจากดินที่มีการบดละเอียดอย่างดีและกรองเอา
                   สิ่งเจือปนออกไป ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน และเผาในอุณหภูมิที่สูง บางครั้งพบว่ามีความบางถึง 1.5

                   มิลลิเมตร ลักษณะเด่นของภาชนะชนิดนี้คือ ผิวหน้าที่มีความมันเงาจนสะท้อนออกมาคล้าย
                   กระจก อย่างไรก็ดีแม้ว่าจะได้รับการกำหนดชื่อเรียกว่าภาชนะดินเผาสีดำขัดมัน แต่ภาชนะชนิด
                   นี้กลับมีหลากหลายสีและมีระดับสีที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ดำสว่าง (light black) ไปจนถึงดำสนิท

                   (jet black) แต่บางครั้งก็พบว่ามีสีออกเงิน สีทอง และสีน้ำตาลช็อกโกแลตอีกด้วย
                          จากความสวยงามของภาชนะดินเผา จึงถูกจัดว่าเป็นสินค้าที่มีราคาแพง ผลิตขึ้นมาเพอ
                                                                                                     ื่
                   รองรับกลุ่มผู้นำ (elite) ในสังคม และแม้ว่าภาชนะชนิดนี้จะถูกพบอยู่ทั่วไปในอินเดียในช่วงยุค
                   เหล็กตอนปลาย- ยุคต้นประวัติศาสตร์ แต่การปรากฏขึ้นหลักๆของมันจะอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่ม
                   แม่น้ำคงคาตอนกลางถึงตอนล่าง โดยมีกลุ่มชนชาวพุทธซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนั้นเป็นผู้ใช้ มี




                          4  Enamul Haque, Shah Sufi Mustafizur Rahman and S.M. Kamul Ahsan. (2011). A preliminary report on
                   Wari Bateshwar trial excavation by ICSBA. Journal of Bengal Art, 5, pp. 11-40.
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88