Page 81 - 001
P. 81

70


                          ที่สำคัญคือ มีการผลิตลูกปัดทั้งประเภทลูกปัดแก้ว หิน และดินเผา ตั้งแต่ช่วงยุคเหล็ก

                                ิ่
                   ตอนต้นและเพมปริมาณมากขึ้นในช่วงยุคตอนปลาย จนกลายเป็นอุตสาหกรรมและเป็นสินค้า
                                                                       ี
                   ส่งออกไปขายต่างประเทศ  โดยมีแหล่งผลิตที่เมืองโกสัมพและเมืองพาราณสี มีทรงกลม ทรง
                   กรวย ทรงถัง และลูกปัด  แบบเกลียว ส่วนลูกปัดหินที่ผลิตกันมากคือ ลูกปัดหินอาเกตและหิน

                   คาร์เนเลียน ซึ่งมีศูนย์กลางการผลิตในยุคเหล็กตอนปลายหลายแห่ง เช่น เมืองอุชเชน  (Ujjain)
                   โภการ์ดาน (Bhokardan) แคมเบย์ (Cambay) พรหมบุรี (Brahmpur)  และตรีปุระ (Tripura)

                   ลูกปัดที่ผลิตมักนิยมตกแต่งด้วยการสกัดผิวและฝังสี (etched bead)  ลูกปัดแบบนี้ปรากฏครั้ง
                   แรกในสมัยเหล็กตอนปลาย และได้แพร่กระจายไปในภูมิภาคอื่น ๆ ของอินเดียในเวลาต่อมา
                   จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่า เมืองอุชเชนเป็นแหล่งผลิตลูกปัดหินและเป็นศูนย์กลางการ

                   ส่งออกเครื่องประดับที่ทำด้วยหินกึ่งรัตนชาติ และส่งไปขายยังซีกโลกตะวันตก โดยผ่านเมืองภรุ
                                                          3
                   กัจฉะซึ่งเป็นเมืองทางฝั่งตะวันตกของอินเดีย






























                                                   ภาพที่ 24 ลูกปัดหินคาร์เนเลียนแบบฝังสี
                   ที่มา : https://upload.wikimedia.org/ [Online] accessed 27 October 2018.




















                          3  ผาสุข อินทราวุธ. ทวารวดี การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี, หน้า 33-36.
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86