Page 46 - 001
P. 46
35
3. วัฒนธรรมฮารัปปาในยุคสุดท้าย (late harappan) การเปลี่ยนผ่านจากยุค
รุ่งเรืองไปสู่การสิ้นสุดของวัฒนธรรมไม่ได้เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน แต่หากมองภาพโดยรวม
ทั้งหมดจะเห็นว่าเกิดการหยุดชะงักของวัฒนธรรมฮารัปปาในเครือข่ายสังคมเมืองและการ
แพร่กระจายไปสู่สังคมชนบท การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุดในช่วงสุดท้ายของ
วัฒนธรรมนี้คือ การหมดไปของการค้าระยะไกลระหว่างกลุ่มเมืองในวัฒนธรรมฮารัปปากับทาง
11
ตะวันตกเฉียงเหนือ รวมไปถึงเมืองท่าการค้าทางชายฝั่งทะเลตอนใต้ด้วย อย่างไรก็ดี
วัฒนธรรมฮารัปปาไม่ได้หายไปทันทีทันใด โบราณวัตถุที่แสดงความเกี่ยวพนกับวัฒนธรรมนี้ยัง
ั
พบต่อมาในภายหลังและอาจคงอยู่จนถึงในราว 1,000 -900 ปีก่อนคริสตกาล
การล่มสลายของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
การศึกษาในเรื่องสาเหตุการล่มสลายลงของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเป็นสิ่งที่มีมา
ยาวนานและยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี มีแนวคิดที่น่าสนใจต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. การรุกรานของชาวอารยัน เป็นข้อสันนิษฐานหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแต่
กลับมีหลักฐานสนับสนุนน้อยที่สุด โดยแนวคิดดังกล่าวเริ่มขึ้นจากนายรามปราสาท จันทา
(Ramaprasad Chanda) ในปี 1926 และได้รับการขยายความอีกครั้งจากนายมอร์ติเมอร์ วีล
เลอร์ (Mortimer Wheeler) โดยเขาได้อ้างอิงถึงพระอินทร์ในคัมภีร์ฤคเวท (Reg Veda) ซึ่ง
ได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพแห่งสงคราม ซึ่งอาจจะสะท้อนให้เห็นว่าชาวอารยันเป็นผู้รุกราน
เมืองต่างๆในลุ่มแม่น้ำสินธุ อีกทั้งวีลเลอร์ยังโยงไปถึงซากโครงกระดูกที่ฝังอย่างระเกะระกะที่
ื่
เมืองโมโหนโจ ดาโร เพอสนับสนุนแนวคิดของเขาว่าโครงกระดูกดังกล่าวมาจากการสังหารหมู่
12
ของชาวอารยัน
อย่างไรก็ดี แนวคิดดังกล่าวได้รับการปฏิเสธจากนักวิชาการหลายท่าน โดยให้เหตุผล
โต้แย้งว่า คัมภีร์ฤคเวทเป็นวรรณกรรมที่ไม่สามารถกำหนดอายุที่แน่นอนได้ และหากมีการ
รุกรานเกิดขึ้นจริงเหตุใดจึงไม่ทิ้งร่องรอยการจู่โจมทางทหารตามแหล่งโบราณคดีในอารยธรรม
ลุ่มแม่น้ำสินธุไว้บ้างเลย นอกจากนี้โครงกระดูกจากเมืองโมเหนโจ ดาโรที่วีลเลอร์อ้างถึง ก็ไม่ได้
อยู่ในชั้นวัฒนธรรมเดียวกัน อีกทั้งในบริเวณเนินสูงที่สันนิษฐานว่าเป็นป้อมปราการ ซึ่งน่าจะ
เป็นสนามการต่อสู้หลักของเมือง กลับไม่พบโครงกระดูกเลยแม้แต่โครงเดียว แต่แม้จะมีการใช้
เหตุผลต่างๆในการปฏิเสธแนวคิดในข้อนี้ แต่นักวิชาการยังไม่สามารถตอบคำถามได้ว่า เหตุใด
บางชุมชนจึงดูเหมือนจะละทิ้งถิ่นฐานไปอย่างปัจจุบันทันด่วน ข้อสันนิษฐานในเรื่องนี้ จึงมักถูก
นำกลับมาอ้างถึงอีกอยู่บ่อยครั้ง
2. การประสบภัยพบัติ เป็นแนวคิดที่มาจากการศึกษาของนักธรณีวิทยาในเรื่องการ
ิ
เคลื่อนตัวของเปลือกโลก (tectonic movement) ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเมืองต่างๆที่ตั้งอยู่
บริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ เป็นต้นว่า ทำให้แม่น้ำเปลี่ยนทิศทางไหลไปท่วมเมืองโมเหนโจ ดาโร ดังที่
11 Jonathan Mark Kenoyer. (2006). Cultures and Societies of the Indus Tradition. Historical Roots in the
Making of the Aryan. New Delhi: National Book Trust, p. 35.
th
12 Upinder Singh. A History of Ancient and Early Medieval India from the Stone Age to the 12 Century,
p. 179.