Page 272 - 001
P. 272

261


                                                               ั
                   จารึกที่ยังหลงเหลืออยู่ แสดงให้เห็นถึงความสัมพนธ์กับราชวงศ์ไศเลนทร์อย่างใกล้ชิด เห็นได้
                                                                                       ื่
                   จากการที่มีการส่งพระภิกษุมาศึกษาที่นาลันทา และบริจาคพระราชสมบัติเพอก่อสร้างอาราม
                   ให้กับสงฆ์ในมหาวิทยาลัยด้วย
                          ลักษณะของประติมากรรมศิลปะปาละ

                          ประติมากรรมในสมัยปาละมีรูปแบบศิลปะแบบคุปตะเป็นรากฐาน และยังคงพยายาม
                   รักษารูปแบบศิลปะแบบเดิมเอาไว้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในช่วงเวลา 350 ปีที่ศิลปะปาละ

                   เจริญอยู่นั้น วิวัฒนาการของศิลปะมีขึ้นภายในท้องถิ่น ไม่มีอิทธิพลหรือแรงบันดาลใจจากที่อื่น
                                 20
                   มาเกี่ยวข้องเลย  และแม้ประติมากรรมของปาละจะถูกสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพุทธและศาสนา
                   ฮินดู แต่ศาสนาพทธจะมีมากกว่า นอกจากนี้รูปเคารพยังทำมาจากวัสดุที่มีความหลากหลาย
                                   ุ
                   ได้แก่ ดินเผา หินบะซอล์ทสีดำหรือเทา และสำริด
                          ศิลปะปาละนิยมทำแผ่นหลัง และมักใส่รายละเอียดลงบนแผ่นหลัง เช่น บริวาร เครื่อง

                   ประกอบพระยศ ประภามณฑล และเครื่องประกอบประติมานวิทยา ฯลฯ ระยะแรกแผ่นหลังมี
                   ปลายด้านบนโค้งมน ต่อมากลายเป็นแผ่นหลังปลายแหลม ในสมัยปาละตอนปลาย พระพุทธรูป
                   ทรงเครื่องได้รับความนิยมขึ้น มักทรง “เทริดขนนก” ที่ประกอบจากตาบสามเหลี่ยมซ้อนกัน 5

                   แผ่น เทริดขนนกนี้ถือเป็นลักษณะเฉพาะในศิลปะปาละ
                                                                   21
                          ในส่วนของพระพทธรูปนั้น หากเป็นพระพทธรูปยืนมักพบว่านิยมการยืนแบบสมภังค์
                                                                ุ
                                          ุ
                   มากกว่า พร้อมทั้งมีบริวารขนาบทั้งสองข้าง พบทั้งอภัยมุทราและวรมุทราเป็นหลัก โดยอภัย
                   มุทราได้รับความนิยมมากกว่า ในขณะที่ถ้าเป็นพระพทธรูปประทับนั่งจะนิยมในท่าภูมิสปรรศ
                                                                  ุ
                   มุทรา ซึ่งจะนั่งในท่าวัชราสนะเสมอ หากเป็นธรรมจักรมุทราซึ่งเป็นท่าที่นิยมรองลงมาอาจอยู่ใน

                   ท่าวัชราสนะหรือประลัมพปาทาสนะก็ได้ ในศิลปะปาละนั้นเกือบจะเป็นกฎเกณฑว่า
                                                                                                   ์
                                                               ุ
                   พระพทธรูปยืนจะห่มจีวรแบบห่มคลุม ส่วนพระพทธรูปนั่งจะห่มเฉียงเสมอ จีวรมีทั้งแบบเรียบ
                        ุ
                   และแบบริ้วอยู่ร่วมสมัยกัน ทั้งหมดเป็นลักษณะผ้าบางแนบเนื้อคล้ายผ้าเปียกน้ำ แสดงถึง
                   อิทธิพลของศิลปะแบบคุปตะ สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับลักษณะจีวรในศิลปะปาละ คือ การประดิษฐ์
                   รอยยับของผ้าบริเวณเฉพาะปลายขอบผ้าด้านล่างที่เรียกว่า “เขี้ยวตะขาบ” โดยจะอยู่ใน

                   ตำแหน่งขอบจีวรด้านล่างสุดของพระพทธรูปยืน และที่ชายจีวรพาดพระอังสาซ้ายของ
                                                         ุ
                        ุ
                   พระพทธรูปประทับนั่ง เขี้ยวตะขาบนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในศิลปะปาละ และส่งอิทธิพลให้แก่
                                                              22
                   บรรดาศิลปะต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย
                          พระพุทธรูปทรงเครื่องได้ปรากฏชัดเจนขึ้นในศิลปะปาละ โดยมักทรงเครื่องประดับไว้ 3
                   ตำแหน่งได้แก่

                          1)  เครื่องประดับเหนือพระเศียร ได้แก่ มงกฎ “เทริดขนนก”
                          2)  เครื่องประดับพระกรรณ มักประดับด้วยดอกไม้กลมที่ด้านบนและทรงกุณฑลที่

                   ด้านล่างเสมอ
                          3)  เครื่องประดับพระศอ ได้แก่กรองศอสวมทับบนจีวร เส้นด้านในจะเป็นสร้อยไข่มุก



                          20  จิรัสสา คชาชีวะ, โบราณคดีอินเดีย, หน้า 490.
                          21  เชษฐ์ ติงสัญชลี, พระพุทธรูปอินเดย, หน้า 28.
                                                 ี
                          22  เรื่องเดิม, หน้า 178-180.
   267   268   269   270   271   272   273   274   275   276   277