Page 273 - 001
P. 273
262
ส่วนเส้นนอกเป็นสร้อยเพชรพลอย มักมีติ่งแหลมกลางกรองศอ
นอกจากรูปเคารพที่ทำด้วยศิลาแล้ว ประติมากรรมที่ทำจากสำริดก็พบด้วยเช่นเดียวกัน
ซึ่งแสดงให้เห็นความเชี่ยวชาญในงานฝีมือได้เป็นอย่างดี ประติมากรรมสำริดพบเป็นจำนวนมาก
ิ
ทั้งที่นาลันทาและกุระกิหาระ (Kurkihara) ในแคว้นพหาร ส่วนใหญ่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนา
23
พุทธและเป็นประติมากรรมขนาดเล็ก หล่อขึ้นรูปด้วยวิธีการสูญขี้ผึ้ง (lost wax) โดยปั้นหุ่นขี้ผึ้ง
ก่อน และใช้โลหะผสมกัน 8 ชนิด คือ ทองแดง ดีบุก ตะกั่ว พลวง สังกะสี เหล็ก ทอง และเงิน
24
ิ
ในปริมาณต่างๆกันหลอมเหลวแล้วเทลงในแม่พมพขี้ผึ้ง มีความเป็นไปได้ว่ารูปเคารพสำริด
์
จำนวนมากนี้ถูกส่งออกไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะที่เกาะชวา แสดงให้เห็น
ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างราชวงศ์ไศเลนทร์กับนาลันทาได้เป็นอย่างดี
25
ส่วนราชวงศ์เสนะ เป็นราชวงศ์ที่สืบต่อมาจากราชวงศ์ปาละ แต่รูปแบบทางศิลปะไม่ได้
เปลี่ยนแปลงไปมากนัก นอกจากประติมากรรมมีลักษณะที่หนักขึ้น และผิดธรรมชาติ ราชวงศ์
เสนะนับถือศาสนาฮินดู ดังนั้นจึงมีรูปเทพในศาสนาพราหมณ์มากกว่า และมักเป็นรูป
ประติมากรรมลอยตัว
ภาพที่ 113 ประติมากรรมในศาสนาพุทธ ศิลปะปาละ
ที่มา : https://commons.wikimedia.org/[Online], accessed 29 October 2018.
ศิลปะอินเดียแบบราชวงศ์ปัลลวะ
ราชวงศ์ปัลลวะครอบครองอินเดียใต้ ทางฝั่งตะวันออก เลยเขตแม่น้ำกฤษณาลงไป ร่วม
สมัยกับราชวงศ์ปาละทางฝั่งตะวันออก ราชวงศ์ปัลลวะนับถือศาสนาฮินดูจึงสร้างเทวาลัยไว้เป็น
จำนวนมาก ซึ่งเมื่อพจารณาจากบริเวณที่ตั้งจะเห็นว่าราชวงศ์ปัลลวะมีอำนาจอยู่ในบริเวณ
ิ
23 S.P. Gupta, Elements of Indian Art, p. 96.
24 สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะอินเดีย, หน้า 131.
25 Benjamin Rowland, The Art and Architecture of India, p. 147.