Page 275 - 001
P. 275
264
ศิลปะอินเดียใต้ไกล โจฬะและวิชัยนคร
อินเดียใต้ไกล ถือเป็นดินแดนของกลุ่มฑราวิทซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู ศิลปกรรม
ื้
ที่ถูกสร้างขึ้นมาจึงทำขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดูเป็นหลัก อย่างไรก็ดี มีบางพนที่ที่ยังคงนับถือ
ั
ศาสนาพทธ และได้พฒนารูปแบบศิลปะของตนเองขึ้นซึ่งนักวิชาการบางท่านกำหนดเรียกว่า
ุ
ู
“ศิลปะนาคปัฏฏนัม” เนื่องจากเป็นศิลปะที่เจริญขึ้นที่เมืองนาคปัฏฏนัม รัฐทมิฬนาฑ ซึ่งจะ
27
กล่าวถึงต่อไปในภายหลัง
ศิลปะแบบโจฬะ เริ่มมีความโดดเด่นในช่วงพทธศตวรรษที่ 14 ในสมัยนี้นิยมสร้าง
ุ
เทวรูปทั้งแบบลอยตัว นูนสูงและนูนต่ำ โดยประติมากรรมแบบนูนต่ำนั้นจะสลักเพอเป็นส่วน
ื่
หนึ่งของเทวาลัย โดยเฉพาะถ้ำเทวาลัยที่เจาะขุดสกัดเข้าไปในภูเขาหิน ส่วนเทวาลัยกลางแจ้ง
เช่น เทวาลัยพฤหเทศวร จะปรากฏภาพสลักเทพเจ้าต่างๆ ภายในซุ้ม (niches) เหนือประตู
ทางเข้าออก ประติมากรรมนูนสูงที่มีชื่อเสียงอยู่ที่เทวาลัยคังไคโกณฑโจฬปุรัม
(Gangaikondacholapuram) เป็นภาพสลักเทพเจ้าในศาสนาฮินดูภายนอกอาคารวิมาน ภาพท ี่
มีชื่อเสียงคือ รูปพระศิวะจัณเฑศ อนุคฤหมูรติ (Chandes Anugraha Murti)
ลักษณะเด่นของศิลปะแบบโจฬะ คือ รูปหน้าของบุคคลจะเป็นทรงกลมรีแบบรูปไข่ มี
คางแหลมแต่จะดูอ่อนหวาน รูปตาค่อนข้างใหญ่ยาว จมูกค่อนข้างใหญ่และแหลม ริมฝีปากหนา
และเต็มอิ่ม แสดงความเคร่งขรึมและบึกบึน ร่างกายแน่นกำยำและกลมกลึง หน้าอกจะนูนเป็น
พิเศษโดยเฉพาะสตรี สะโพกใหญ่บั้นเอวเล็ก ช่างฝีมือของสกุลช่างนี้พยายามสร้างประติมากรรม
ให้ออกอาการเคลื่อนไหวที่ค่อนข้างรุนแรงเร้าอารมณ์ รวมไปถึงการแสดงรูปหน้าและรูปทรง
ของเชื้อชาติอย่างเด่นชัด
ภาพที่ 116 พระศิวะจัณเฑศ อนุคฤหมูรติ
ที่มา : https://commons.wikimedia.org/[Online], accessed 29 October 2018.
27 เชษฐ์ ติงสัญชลี, พระพุทธรูปอินเดย., หน้า 30.
ี