Page 276 - 001
P. 276
265
นอกจากประติมากรรมศิลาแล้ว ประติมากรรมที่ทำจากสำริดในศิลปะโจฬะก็ถือเป็น
ผลงานที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งในโลกศิลปะ อย่างไรก็ดี โจฬะไม่ใช่ผู้ที่ทำเป็นครั้งแรก สันนิษฐานว่า
28
ในทางภาคใต้คงเป็นพวกอานธระที่รู้วิธีก่อน ต่อมาช่างปัลลวะจึงได้นำมาใช้มาก แต่พฒนา
ั
ฝีมือจนถึงระดับสูงสุดในสมัยโจฬะนี่เอง การหล่อชิ้นงานใช้วิธีสูญขี้ผึ้ง และใช้ทองแดงสัดส่วนที่
29
มากในการทำสำริด ตัวอย่างประติมากรรมสำริดคือ อรรธนารีศวร (Ardhanariswara)
กัลยาณสุนทร (Kalyana Sundara) โสมาสกันทะ (Somaskanda) และรูปศิวนาฏราช ซึ่งเป็นที่
นิยมเป็นพิเศษโดยสามารถสร้างได้งดงามตามอุดมคติทางศาสนาอย่างสมบูรณ์อีกด้วย
ภาพที่ 117 โสมาสกันทะ
ที่มา : https://commons.wikimedia.org/[Online], accessed 29 October 2018.
ศิวนาฏราช คือ พระศิวะในท่าร่ายรำ นาฏราช เป็นท่ารำ 1 ใน 108 ท่าของพระศิวะ
การเต้นรำของพระศิวะเป็นการแสดงออกถึงการทำลายจักรวาลของพระศิวะเพื่อที่จะสร้างใหม่
เป็นความเชื่อที่เกี่ยวกับวัฏจักรของเวลา ช่างฝีมือของโจฬะได้สร้างสรรค์งานออกมาในรูปของ
ประติมากรรมลอยตัว รูปพระศิวะ 4 กร พระกรซ้ายด้านหน้าเหยียดไปข้างหน้าขวางลำตัว พระ
หัตถ์ชี้ลงเบื้องล่าง เรียกว่าคชาหัตถ์มุทรา (Gaja Hasta Mudra) แสดงถึงความมุ่งหมายในการ
ดำรงอยู่ พระหัตถ์ซ้ายด้านหลังถือเปลวไฟ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งการทำลายล้าง พระหัตถ์ขวา
หน้าอยู่ในท่าอภัยมุทรา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งการปกป้องคุ้มภัย พระหัตถ์ขวาหลังถือกลองเล็ก
อันแสดงถึงจังหวะในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ
พระศิวะจะอยู่ภายในวงล้อมกองไฟ ซึ่งเป็นนัยยะของจักรวาล พระเกศาที่กระจายอยู่
เบื้องหลังมีความหมายถึงความเร็วในการเคลื่อนไหวของพระองค์ ส่วนพระบาทซ้ายจะยกขึ้น
28 กำจร สุนพงษ์ศรี, ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย, หน้า 273.
29 Benjamin Rowland, The Art and Architecture of India, p. 185.