Page 271 - 001
P. 271

260


                   นาถมาอย่างมาก กล่าวคือ จีวรบางแนบพระองค์ ห่มคลุม หรือห่มเฉียง (ห่มเปิดพระอังสาขวามี

                                                                         ุ
                   ขอบจีวรพาดผ่านพระอุระลงมาเป็นเส้นเฉียง) หากเป็นพระพทธรูปยืน วรมุทรา (ประทานพร)
                   จะได้รับความนิยมสูงสุด แต่หากเป็นพระพทธรูปนั่ง มุทราที่ได้รับความนิยมคือ ธรรมจักรมุทรา
                                                        ุ
                   (ปฐมเทศนา)

                          นอกจากนี้ พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาทที่มีน้อยในสมัยก่อนก็เป็นที่นิยมกันมาก
                   ขึ้นในสมัยนี้ ดังปรากฏให้เห็นจากที่ถ้ำอชันตา เอลโลรา ฯลฯ และแผ่ไปยังประเทศต่างๆ ใน

                   เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ศิลปะทวารวดีในประเทศไทย ศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร
                   ประเทศกัมพชา และจันทิเมนดุต ที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นต้น ทั้งนี้ การสร้าง
                               ู
                   พระพุทธรูปในสมัยนี้ในยุคแรกมักสร้างจากหินบะซอลต์ เนื่องจากหินในรัฐมหาราษฏร์ส่วนมาก

                   เป็นหินบะซอลต์นั่นเอง


                   ศิลปะอินเดียแบบปาละ-เสนะ
                          ภายหลังการแตกสลายของราชวงศ์คุปตะ อินเดียถูกแบ่งไปตามขั้วอำนาจของราชวงศ์
                                                                                                  ิ
                   ต่างๆในแต่ละพนที่ ราชวงศ์ปาละมีอำนาจขึ้นในช่วงพทธศตวรรษที่ 13-17 บริเวณรัฐพหาร
                                                                    ุ
                                 ื้
                   และเบงกอล ในช่วงเวลานี้ ศาสนาพุทธได้เสื่อมลงและเริ่มหายไปจากอินเดียแล้ว ศิลปะเนื่องใน
                   ศาสนาพุทธบริเวณภาคเหนือของอินเดียจึงหยุดชะงักลงและถูกพัฒนาขึ้นในช่วงสุดท้ายจากสกุล

                   ช่างปาละนี่เอง


























                                      ภาพที่ 112 พระพทธรูปนั่งห้อยพระบาท ถ้ำอชันตา
                                                      ุ
                   ที่มา : https://commons.wikimedia.org/[Online], accessed 29 October 2018.

                                                                           ุ
                                            ุ
                          อย่างไรก็ดี ศาสนาพทธที่เจริญขึ้นในสมัยปาละนี้เป็นพทธนิกายมหายาน ลัทธิตันตระ
                   ซึ่งผสมผสานความเชื่อแบบฮินดูไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดในเรื่องศักติ ธยานิพุทธ และอาทิ
                                                                                    19
                   พทธ โดยมีศูนย์กลางการศึกษาศาสนาที่สำคัญ คือ มหาวิทยาลัยนาลันทา  ซึ่งจากการค้นพบ
                    ุ

                          19  Benjamin Rowland, The Art and Architecture of India, p. 143.
   266   267   268   269   270   271   272   273   274   275   276