Page 277 - 001
P. 277
266
เบนไปทางขวา พระบาทขวาจะวางลงบนมูยะละคะ ซึ่งเป็นคนแคระ ตัวแทนแห่งความยุ่งเหยิง
ความไม่รอบคอบและความไม่บริสุทธิ์
ภาพที่ 118 ศิวนาฏราช
ที่มา : https://commons.wikimedia.org/[Online], accessed 29 October 2018.
ส่วนศิลปะทางพุทธศาสนาในสมัยโจฬะ คือ “ศิลปะนาคปัฏฏนัม” นั้น พระพุทธรูปจะมี
พื้นฐานมาจาก 3 แหล่ง คือ ศิลปะอมราวดี ศิลปะลังกาสมัยอนุราธปุระตอนปลาย-โปลนนารุวะ
และศิลปะปาละ ลักษณะสำคัญคือ จะปรากฏเปลวรัศมีบนอุษณีษะทุกองค์ พระพุทธรูปยืนมีทั้ง
ครองจีวรห่มเฉียงตามแบบศิลปะอินเดียใต้และห่มคลุมตามแบบศิลปะอินเดียเหนือ ส่วน
พระพุทธรูปประทับนั่งมักแสดงธยานมุทรา (สมาธิ) และประทับนั่งขัดสมาธิราบตามแบบอินเดีย
ใต้ การครองจีวรมักห่มเฉียง จีวรเรียบไม่มีริ้ว และมีชายจีวรยาวจนถึงพระนาภี พระพทธรูป
ุ
ุ
นาคปัฏฏนัมมักหล่อจากสำริดเป็นส่วนใหญ่ พบพระพทธรูปสลักหินเพยงเล็กน้อย หินที่ใช้มัก
ี
30
เป็นหินแกรนิตอันเป็นวัสดุที่พบเป็นประจำในศิลปะปัลลวะ-โจฬะ
ี
30 เชษฐ์ ติงสัญชลี, พระพุทธรูปอินเดย, หน้า 30.