Page 267 - 001
P. 267
256
ภาพที่ 105 พระพุทธรูป ศิลปะคุปตะ สกุลช่างมถุรา
ที่มา : https://commons.wikimedia.org/[Online], accessed 29 October 2018.
• สกุลช่างสารนาถ เจริญขึ้น ณ เมืองสารนาถ ใกล้เมืองพาราณสีในรัฐอุตตร
ประเทศ ประติมากรรมมักสร้างขึ้นจากหินทรายสีเหลืองเสมอ สกุลช่างนี้เกิดขึ้นหลังสกุลช่าง
มถุรา โดยมีความแตกต่างจากสกุลช่างมถุราที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ จีวรบางแนบเนื้อคล้ายผ้า
เปียกน้ำ ไม่มีริ้ว หากเป็นพระพทธรูปยืน ส่วนของพระเพลาจะสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ทว่า
ุ
ุ
ไม่ปรากฏองคเพศ หากเป็นพระพทธรูปประทับนั่ง ชายจีวรจะแผ่ออกคล้ายรูปพดบริเวณ
ั
ช่องว่างระหว่างข้อพระบาท ลักษณะเช่นนี้สืบทอดต่อไปยังศิลปะปาละในยุคต่อมา
ในศิลปะคุปตะสกุลช่างสารนาถ ธรรมจักรมุทราเป็นมุทราที่ได้รับความนิยม
สูงสุด นอกจากนี้ยังเริ่มพบพระพุทธรูปประทับนั่งแบบประลัมพปาทาสนะ (ห้อยพระบาท) โดย
มีชายจีวรวาดเป็นรูปวงโค้งระหว่างพระเพลา ซึ่งถือเป็นลักษณะโดดเด่นประการหนึ่งที่น่าสนใจ
ในสมัยนี้