Page 268 - 001
P. 268
257
ภาพที่ 106 พระพุทธรูป ศิลปะคุปตะ สกุลช่างสารนาถ
ที่มา : https://commons.wikimedia.org//[Online], accessed 29 October 2018.
ประติมากรรมเทพเจ้าในศาสนาฮินดู
นอกจากประติมากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาแล้ว ประติมากรรมที่สร้างขึ้นใน
ศาสนาฮินดูก็มีความน่าสนใจเช่นเดียวกัน เพราะมีความเจริญรุ่งเรืองและมีวิวัฒนาการทาง
ศิลปกรรมควบคู่มากับศาสนาพทธ ในสมัยคุปตะศิลปกรรมในศาสนาฮินดูจึงปรากฏโฉมออกมา
ุ
อย่างโดดเด่น โดยมักพบเป็นภาพสลักเล่าเรื่องบนผนังถ้ำ หรือเป็นประติมากรรมภายในเทวาลัย
เมื่อมาถึงสมัยคุปตะ การนับถือพระนารายณ์และพระวสุเทวะ-กฤษณะได้กลายเป็นส่วน
หนึ่งของลัทธิไวษณพนิกายแล้ว พระวิษณุจึงกลายเป็นเทพเจ้าที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ดัง
ปรากฏหลักฐานทั้งจารึกและรูปเคารพในรูปแบบต่างๆอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูป
อวตารของพระวิษณุ แต่อวตารที่ได้รับความนิยมในสมัยนี้มี 4 อวตารด้วยกันได้แก่ วราหาวตาร
(หมูป่า) นรสิงหาวตาร (ครึ่งคนครึ่งสิงห์) วามนาวตาร (พราหมณ์เตี้ย) และอวตารในรูปมนุษย์
16
เช่น วสุเทวะ-กฤษณะ เป็นต้น ตัวอย่างที่น่าสนใจในไวษณพนิกายคือ ประติมากรรมนูนต่ำรูป
พระวิษณุอนันตศายิน (Vishnu Anantasayin) ที่เทวาลัยทศอวตาร (Dashavatara) ที่วัด
เทวคฤห์ (Deogarh) ซึ่งทำเป็นรูปพระวิษณุกำลังทรงบรรทมอยู่เหนือพญานาค (อนันตะ) หรือ
รูปวราหาวตารที่ถ้ำอุทัยคีรี หมายเลข 5 แสดงรูปพระวิษณุในรูปร่างกายที่เป็นมนุษย์ แต่มีพระ
เศียรเป็นหมูป่า บริเวณเขี้ยวนั้นปรากฏรูปพระแม่ธรณีห้อยอยู่ ช่างฝีมือได้สลักรูปที่แสดงถึงพระ
วรกายของเทพเจ้าให้มีความแข็งแรงในลักษณะของเพศชาย พระองค์สวมใส่วนมาลา (มาลัย
ดอกไม้) ขาข้างซ้ายเหยียบอยู่เหนือพระยานาค เข่าข้างซ้ายจึงงอ ซึ่งพระองค์ได้วางพระหัตถ์
ด้านซ้ายลงเหนือเข่าด้วย ในขณะที่ขาข้างขวาเหยียดตรง แต่พระหัตถ์ขวาทรงท้าวสะโพกไว้
16 Upinder Singh, A History of Ancient and Early Medieval India from the Stone Age to the 12th Century,
p. 513.