Page 266 - 001
P. 266

255


                                                ้
                   ศิลปกรรมอินเดียไม่มีทางหลุดพนจากอิทธิพลต่างชาติได้เลย แต่เมื่อมาถึงสมัยคุปตะสกุลช่าง
                                                                                14
                   มถุราได้เป็นอิสระอย่างสมบูรณ์จากอิทธิพลศิลปะกรีกได้เรียบร้อยแล้ว
                          มีผู้กล่าวว่า ศิลปะสมัยคุปตะซึ่งเริ่มขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 9-10 ถือเป็นศิลปะยุคทอง
                   หรือยุคคลาสสิค เนื่องจากมันไม่ได้แสดงถึงความชำนาญของช่างฝีมือเท่านั้น แต่มันยังเต็มไป

                   ด้วยการสร้างสรรค์และความคิดปะปนอยู่ในงานศิลปะอีกด้วย ทั้งนี้ ศูนย์กลางหลักๆของการ
                   สร้างสรรค์งานศิลปกรรมในสมัยนี้อยู่ที่เมืองมถุรา สารนาถ และปาฏลบุตร ศิลปะสมัยคุปตะได้
                                                                                ี
                                                     ุ
                   ผลิตงานประติมากรรมทั้งในศาสนาพทธและในศาสนาพราหมณ์ แม้ว่าประติมากรรมทั้งสอง
                   ศาสนาจะไม่แตกต่างกันในรายละเอียด แต่ลักษณะที่แสดงออกมาก็แตกต่างกัน โดย
                                          ุ
                   ประติมากรรมในศาสนาพทธจะแสดงถึงความอ่อนโยน ความเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์ และ
                   ความอ่อนหวานอันเกิดจากจริยธรรมในพทธศาสนา แต่ประติมากรรมในศาสนาพราหมณ์มัก
                                                        ุ
                                                                                                  15
                   แสดงถึงเทวอำนาจ ท่าเคลื่อนไหว ความโอ่อ่า และความได้สัดส่วนในตำราของศาสนาฮินดู
                          พระพุทธรูปในศิลปะแบบคุปตะ มีสกุลช่างที่สำคัญอยู่ 2 สกุลช่าง ได้แก่
                                 • สกุลช่างมถุรา ประติมากรรมมักสร้างจากหินทรายแดงเสมอ มักครองจีวร
                   แบบห่มคลุม และมีริ้วจีวรทั้งองค์ อุษณีษะและเกศามีลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปะแบบ

                   อมราวดีและคันธาระ กล่าวคือ พระเกศาขมวดเป็นก้นหอย (อมราวดี) ส่วนอุษณีษะเป็นแบบ
                                                                                     ุ
                                                                        ั
                   มวยผม (คันธาระ) อุณาโลมหายไปอย่างสิ้นเชิง ทำให้พระพกตร์ของพระพทธรูปดูสงบมากขึ้น
                   อิริยาบถพบทั้งการยืนสมภังค์และตริภังค์ นิยมอภัยมุทราตามที่สืบเนื่องมาตั้งแต่ช่วงเวลาก่อน
                   หน้านี้






































                          14  L.P. Sharma, Ancient History of India (Pre-historic Age to 1200 A.D.), p. 220.
                          15 สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะอินเดีย, หน้า 116.
   261   262   263   264   265   266   267   268   269   270   271