Page 264 - 001
P. 264

253


                          • สกุลช่างอมราวดี ในบรรดาศิลปะอินเดียในช่วงนี้ ศิลปะอมราวดีถือเป็นศิลปะที่รับเอา

                   คติการสร้างพระพุทธรูปช้ากว่าศิลปะคันธาระและมถุรา เนื่องจากในช่วงแรกยังคงใช้สัญลักษณ์
                             ุ
                                                                         12
                   แทนพระพทธเจ้าตามค่านิยมของศิลปะอินเดียสมัยโบราณอยู่  เมื่อมาถึงสมัยที่ทำพระพุทธรูป
                                                                                             ุ
                   ศิลปะแบบอมราวดีก็ไม่ได้สร้างเฉพาะประติมากรรมลอยตัวเท่านั้น แต่ยังทำภาพพทธประวัติ
                   สลักในแผ่นวงกลมอีกด้วย โดยองค์ประกอบภาพมักใช้ท่าทางและการเคลื่อนไหวของบุคคล มี
                   จังหวะที่เต็มไปด้วยชีวิตจิตใจ และการเคลื่อนไหวอย่างได้สัดส่วน ในชั้นต้นแสดงท่าเคลื่อนไหว

                   อย่างมาก ต่อมาค่อยๆสงบลง บุคคลในภาพแสดงความงามอย่างอ่อนช้อย วัสดุที่ใช้เป็นหินปูนสี
                              13
                   ขาวอมเขียว
                                                ุ
                          ลักษณะสำคัญของพระพทธรูปสมัยอมราวดีคือ มีพระเศียรยาวรี พระเกศาขมวดเป็น
                   ก้นหอยคลุมทั้งพระเศียร อุษณีษะต่ำ ครองจีวรห่มเฉียงและเป็นริ้วทั้งองค์ จีวรเป็นริ้วธรรมชาติ
                   มีขอบหนา ยกขึ้นมาพาดพระกรซ้าย นิยมแสดงอภัยมุทราเพยงมุทราเดียว หากประทับยืนจะ
                                                                         ี
                   จับชายจีวรด้วยพระหัตถ์ซ้ายขนานกับพระหัตถ์ขวาที่แสดงมุทรา ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะในศิลปะ
                   อินเดียใต้และปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ หากเป็นประติมากรรมลอยตัวจะไม่ปรากฏ
                   ประภามณฑล แต่หากเป็นประติมากรรมนูนต่ำ ประภามณฑลจะเป็นแบบศิรประภาไม่มี

                   ลวดลาย พนักบัลลังก์ซึ่งตกแต่งด้วยรูปมกรและตัววยาลยกขาก็เริ่มต้นในศิลปะสมัยนี้
                          สกุลช่างอมราวดียังมีส่วนสำคัญในการเผยแพร่ศิลปะอินเดียไปยังประเทศในแถบทะเล

                   ใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังได้ค้นพบพระพทธรูปแบบอมราวดีที่เกาะลังกา จัมปา (ดง
                                                                ุ
                   เดือง) ไทย (นครราชสีมาและนราธิวาส) คาบสมุทรมลายูที่เกาะเซเลเบส ชวาภาคตะวันออก
                   และสุมาตรา (ปาเล็มบัง)

































                          12  เชษฐ์ ติงสัญชลี. พระพุทธรูปอินเดย, หน้า 22.
                                                 ี
                          13  จิรัสสา คชาชีวะ, โบราณคดีอินเดีย, หน้า 498.
   259   260   261   262   263   264   265   266   267   268   269