Page 263 - 001
P. 263
252
โลมอยู่กึ่งกลางระหว่างพระขนงตามความในคัมภีร์ลักขณสูตร ครองจีวรห่มเฉียง มีริ้วเฉพาะที่
ไหล่ เปิดอังสาขวา ผ้าจีวรบางโปร่งใสจนเห็นพระถัน พระนาภี รัดประคด และองคเพศ
ด้านหลังพระเศียรมีศิรประภาที่มักประดับขอบด้วยลายครึ่งวงกลมขนาดเล็ก พระพักตร์อิ่มเอิบ
อมยิ้ม ในขณะที่รูปทรงและทรวดทรงมีความหนัก ไม่แสดงกล้ามเนื้อชัดเจน ส่วนอิริยาบถนั้น
หากเป็นท่ายืนจะยืนในท่าสมภังค์เสมอ และมักจะทำอภัยมุทรา นอกจากนี้ ยังทำรูปพระ
ุ
โพธิสัตว์ทั้งเมตไตรยะ อวโลกิเตศวร และวัชรปาณี อีกทั้งยังนิยมสลักภาพเล่าเรื่องพทธประวัติ
11
ด้วย เห็นได้อย่างชัดเจนว่า สกุลช่างมถุราในช่วงเริ่มต้นได้สืบสานรูปแบบประติมากรรมมาจาก
สมัยโมริยะ พระพุทธรูปจึงมีรูปร่างคล้ายยักษาในศิลปะอินเดียโบราณก่อนหน้านี้
เมื่อเข้าสู่พุทธศตวรรษที่ 8-9 อิทธิพลจากศิลปะคันธาระและอมราวดี ทำให้รูปแบบของ
ุ
พระพทธรูปเปลี่ยนแปลงไป ที่ปรากฏเด่นชัดคือ จีวรห่มคลุมเป็นริ้วและมีอุษณีษะเป็นมวยผม
(ตามแบบศิลปะคันธาระ) ซึ่งนอกจากการสร้างประติมากรรมเนื่องในพทธศาสนาแล้ว สกุล
ุ
ช่างมถุรายังสร้างประติมากรรมรูปเคารพในศาสนาฮินดู และประติมากรรมภาพเหมือนบุคคล
อีกด้วย เช่น รูปพระเจ้ากนิษกะ เป็นต้น
ภาพที่ 103 ประติมากรรมสกุลช่างมถุราระยะแรก
ที่มา : https://commons.wikimedia.org//[Online], accessed 29 October 2018.
11 จิรัสสา คชาชีวะ, โบราณคดีอินเดีย, หน้า 468.