Page 240 - 001
P. 240

229


                          สถาปัตยกรรมสมัยวิชัยนคร

                          วิชัยนคร เป็นรัฐที่สถาปนาขึ้นโดยชาวฮินดูในช่วงที่มุสลิมขึ้นมามีอำนาจในอินเดีย
                   ภาคเหนือ และสามารถครอบครองพนที่ส่วนใหญ่ของกรรณาฏกะ อานธระประเทศ ทมิฬ
                                                    ื้
                       ุ
                   นาฑ และบางส่วนของเกระละ ในช่วงเวลา 300 ปีที่วิชัยนครดำรงอยู่ได้สร้างศาสนสถานขึ้น
                   เป็นจำนวนมาก ซึ่งรูปแบบสถาปัตยกรรมในสมัยนี้มาจากการผสมผสานกันของศิลปะแบบ
                   จาลุกยะ โหยสฬะ (Hoysala) ปาณฑยะ และโจฬะ

                          ลักษณะที่สำคัญของสถาปัตยกรรมในสมัยนี้คือ วัสดุที่ใช้ในการสร้างที่เน้นเรื่องการ
                   ใช้หินแกรนิตเป็นส่วนประกอบหลัก เช่น ห้องโถง ทางเข้า และกำแพง ในขณะที่โครงสร้าง
                   ส่วนบนเลือกใช้อิฐและปูน  เทวาลัยยังคงประกอบไปด้วยวิมาน อันตะราละและมหามณฑป
                                          39
                   เช่นเดิม เทวสถานขนาดใหญ่มักจะสร้างโคปุระขนาดสูงใหญ่เช่นเดียวกัน โดยมักสร้างด้วยอิฐ
                   ไม้ และปูนปั้นในรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบโจฬะ แต่ละชั้นของโคปุระจะประดับประดาด้วย

                   ประติมากรรมรูปมนุษย์ เทพ และเทพี ส่วนยอดบนสุดของโคปุระจะเป็นศิขรที่มีทรงคล้ายถัง
                   บรรจุของเหลว จุดเด่นที่สำคัญของสถาปัตยกรรมแบบวิชัยนครคือเสาภายในมณฑป ซึ่งมี
                   หลากหลายขนาดทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลาง ส่วนกลางของเสามักเป็นรูปประติมากรรม

                   นูนต่ำ รูปนางรำหรือรูปหงส์ บางแห่งเป็นเสาสองต้นหรือมากกว่าอยู่ชิดกัน มีหน้าตัดรูป
                   สี่เหลี่ยมผืนผ้าประดับด้วยตัวยาฬ (Yali) ซึ่งเป็นสัตว์ในตำนานที่มีส่วนลำตัวเป็นสิงโตแต่
                                                  ิ
                   ศีรษะเป็นสัตว์อื่นๆ เช่น ม้า ช้าง มนุษย์ และสุนัข เป็นต้น สถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงได้แก่
                   เทวสถานศรีรังคาม (Srirangam)





























                                         ภาพที่ 80 เสารูปตัวยาฬิ วิชัยนคร
                   ที่มา :  https://upload.wikimedia.org/ [Online], accessed 10 September 2018.




                          39  แต่เดิมในช่วงที่ราชวงศ์จาลุกยะตะวันตกและโหยสละปกครองดินแดนแถบนี้ มักจะสร้างศาสนสถานด้วยหินชีสต์ (schist)
                   หรือหินสบู่ (soapstone) ดูเพิ่มที่ V. Jayaprada. (1988). Vijayanagra Temples at Tadapatri an Art Historical Study. Ph.D.
                   Thesis, Nagarjuna University, p. 121.
   235   236   237   238   239   240   241   242   243   244   245