Page 245 - 001
P. 245

234


                          นอกจากนี้ สถาปัตยกรรมอิสลามยังให้ความสำคัญกับระบบสัดส่วน (Proportion) ที่

                   ใช้หลักคณิตศาสตร์อย่างเข้มงวด มีการใช้เส้นตรงและเส้นโค้งชัดเจนแน่นอน การตกแต่งทั้ง
                   ภายในและภายนอกนิยมตกแต่งด้วยลายพรรณพฤกษา อักษรศิลป์ และการฝังหินสี รวมไป
                                            46
                   ถึงการปั้นเป็นแบบนูนขึ้นมา  ยิ่งกว่านั้นการที่คัมภีร์ในศาสนาอิสลามมีบัญญัติในเรื่องการ
                   ห้ามสร้างรูปเคารพบุคคลใดๆ จึงทำให้งานทางด้านประติมากรรมนูนสูงค่อนข้างหยุดชะงัก
                          ี
                   เหลือเพยงงานประติมากรรมนูนต่ำที่ทำเป็นลวดลายพรรณพฤกษาหรืออักษรศิลป์เท่านั้น
                   ส่วนงานจิตรกรรมแม้จะมีการห้ามวาดภาพบุคคลแต่ก็มีการสร้างสรรค์งานออกมาที่เรียกว่า
                   จุลจิตรกรรม (miniature painting)
                          ทั้งนี้ งานทางด้านสถาปัตยกรรมอิสลามสามารถแบ่งออกเป็น 2 ช่วงด้วยกัน

                   ช่วงแรกเป็นของสมัยสุลต่านแห่งเดลีเริ่มขึ้นในราวพ.ศ. 1749 (ค.ศ. 1206) จนถึงการสิ้นสุด
                   ของเชอร์ ชาห์แห่งราชวงศ์สุระ (พ.ศ. 2098; ค.ศ. 1545) และช่วงที่สองเริ่มขึ้นในสมัย

                   ราชวงศ์โมกุล คือพระเจ้าอักบาร์และสิ้นสุดลงในสมัยพระเจ้าโอรังเซบ
                          สถาปัตยกรรมในช่วงแรกที่แสดงความโดดเด่นคือ กุตับ มินาร์ (Qutub Minar)
                   ตั้งอยู่ห่างจากเมืองเดลีราว 18 กิโลเมตร แต่เดิมเป็นหอสูงเพียง 95 ฟุต สร้างขึ้นโดยกษัตริย์

                   ฮินดู ต่อมาเมื่อมุสลิมเตอร์กได้ยึดครองอินเดีย สุลต่านกุตับ อุดดิน ไอบาค (Qutub ud-din
                                                                                           ื่
                                                      ิ่
                   Aibak) แห่งราชวงศ์ทาส ได้ทำการเพมเติมให้สูงกว่าเดิม โดยมีจุดประสงค์เพอใช้เป็น
                                                                                        ิ่
                   อนุสรณ์สถานแห่งชัยชนะของศาสนาอิสลามบนผืนแผ่นดินอินเดีย การสร้างเพมเติมนี้ได้นำ
                   แบบอย่างรูปแบบสถาปัตยกรรมจากซีเรียและฆัชนีมาใช้ โดยตัวหอสูงทำเป็นร่องกลีบคล้าย
                   ฟักทองสูงขึ้นไป ภายในโปร่ง มีบันไดขึ้นถึงยอด 379 ขั้น ลักษณะเป็นศิลปกรรมแบบอิสลาม

                   แต่ใช้ช่างอินเดียเป็นผู้สร้าง สถาปัตยกรรมอิสลามในช่วงแรกนี้จึงแสดงออกให้เห็นถึงความ
                   ภาคภูมิใจในการถือสิทธิ์เข้าครอบครองอินเดียอย่าง แรงกล้าในฐานะผู้ปกครองต่างชาติผ่าน

                   การใช้ประโยชน์จากวัสดุและฝีมือช่างชาวอินเดียซึ่งเป็นชาวท้องถิ่น
                          ในขณะที่สถาปัตยกรรมในยุคที่สองกลับแตกต่างออกไป เพราะแสดงออกถึงการ
                   ผสมผสานระหว่างรูปแบบอินเดียดั้งเดิมกับรูปแบบใหม่ที่เข้ามา โดยเริ่มขึ้นในสมัยพระเจ้าอัก

                   บาร์แห่งราชวงศ์โมกุล ทั้งนี้ สิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ในสมัยอักบาร์จะสร้างขึ้นที่ฟาเตห์ปุระ สิขรี
                   ซึ่งเป็นเมืองหลวงใหม่ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของราชวงศ์โมกุลได้รับอิทธิพลมาจาก

                                     47
                                                                                      ื้
                   สถาปัตยกรรมติมูริด  (Timurid) ซึ่งเป็นที่นิยมมากในศิลปะอิสลามบริเวณพนที่เอเชียกลาง
                   แต่ถึงกระนั้นก็แสดงถึงลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบอินเดียโบราณด้วยเช่นเดียวกัน











                          46  กำจร สุนพงษ์ศรี, ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย, หน้า 307.
                          47  สถาปัตยกรรมติมูริด (Timurid Architecture) เป็นสถาปัตยกรรมที่พัฒนามาจากลักษณะต่างๆของสถาปัตยกรรมในสมัย
                   เซลจุค (Seljuq) มีลักษณะเด่นที่การใช้หินสีเทอร์คอยซ์ (Turquoise) หรือหินสีฟ้ามาประดับสิ่งก่อสร้างและมีรูปแบบอาคารที่เป็นทรง
                   เรขาคณิตอย่างชัดเจน สถาปัตยกรรมติมูริดเริ่มขึ้นในสมัยกษัตริย์ติมูร์แห่งจักรวรรดิติมูร์ในเอเชียกลาง
   240   241   242   243   244   245   246   247   248   249   250