Page 241 - 001
P. 241

230


                          สถาปัตยกรรมสมัยนายะกะ (Nayak) แห่งมาทุระ (Madura)

                          เมื่ออาณาจักรวิชัยนครไม่อาจต้านทานการขยายอำนาจของรัฐมุสลิมทางเหนือได้
                   ชาวฮินดูก็อพยพลงไปทางตอนใต้และตั้งเมืองหลวงของพวกเขาใหม่ที่เมืองมาทุระภายใต้การ
                   นำของราชวงศ์นายะกะในราวพทธศตวรรษที่ 21 (คริสต์ศตวรรษที่ 17) สถาปัตยกรรม
                                                ุ
                   ในช่วงนี้จึงถูกพฒนาขึ้นโดยราชวงศ์นายะกะและยังคงเป็นสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบฑรา
                                 ั
                   วิทหรืออินเดียใต้และเกี่ยวพันกับศาสนาฮินดูเช่นเดิม

                          ศาสนสถานในสมัยนี้ได้ขยายพนที่ออกไปมากกว่าเดิมซึ่งการขยายอาณาเขตนั้น
                                                      ื้
                                                            ิ่
                   สอดคล้องกันกับพธีกรรมที่มีต่อเทพเจ้าที่เพมมากขึ้น ลานขนาดใหญ่รอบเทวาลัยถูก
                                    ิ
                              ื่
                   ออกแบบเพอรองรับผู้คนที่เข้าร่วมในงานขบวนแห่ โคปุระในสมัยนี้มีความสูงใหญ่และถูก
                   สร้างไว้ที่ทิศหลักทั้งสี่ทิศ ซึ่งโคปุระที่มีขนาดใหญ่เช่นนี้ทำให้เทวาลัยประธานดูมีขนาดเล็กลง
                                40
                   อย่างเห็นได้ชัด
                          นอกจากการขยายพนที่หรือสร้างองค์ประกอบบางอย่างให้ดูใหญ่โตแล้ว มณฑปยัง
                                            ื้
                   ถูกขยายออกเป็นโถงกว้าง เสาของห้องโถงมีมากกว่า 2000 ต้น สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นมาคือ บ่อน้ำ
                   หรือสระน้ำที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมล้อมรอบด้วยทางเดินมีหลังคาซึ่งประกอบไปด้วยเสา

                   อาจกล่าวได้ว่าลักษณะของสถาปัตยกรรมในสมัยนายะกะจะเน้นในเรื่องรายละเอียดของ
                                                                                                  41
                   สิ่งก่อสร้างและขยายใหญ่จนดูเกินจริง มากกว่าจะพัฒนาสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ๆขึ้นมา

                   สถาปัตยกรรมแบบเวสะระ
                          เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างแบบนคราและฑราวิท มี

                   ความเป็นไปได้ว่าคำว่าเวสะระมาจากคำว่า วิสหระ (Vishra) ในภาษาสันสกฤต ซึ่งแปลว่า
                   พนที่สำหรับใช้ในการเดิน (an area to take a long walk) สถาปัตยกรรมแบบเวสะระมัก
                    ื้
                   ปรากฏขึ้นในบริเวณภาคกลางและเดคข่าน ระหว่างเทือกเขาวินธัยและแม่น้ำกฤษณา มีชื่อ
                   เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าแบบกรรนะตะกะ (Karnataka) เพราะเชื่อว่าต้นแบบเริ่มขึ้นที่รัฐแห่งนี้
                          จากการศึกษาพบว่ารูปแบบสถาปัตยกรรมเช่นนี้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่สมัยราชวงศ์จาลุก

                   ยะแห่งพาทามิ (พุทธศตวรรษที่ 12-13) ต่อมาราชวงศ์ราษฏรกูฏะพัฒนารูปแบบให้ดีมากขึ้น
                   ตามด้วยจาลุกยะแห่งกัลยะนะ และโดดเด่นอย่างชัดเจนในสมัยราชวงศ์โหยสฬะ โดย

                                                                                42
                   ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมแบบเวสะระสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
                          • แผนผังของศาสนสถานเป็นทรงกลมซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นรูปดาว
                          • ตัวอาคารตั้งอยู่บนยกพื้น ผิวหน้าอาคารเต็มไปการประดับตกแต่ง

                          • กำแพงด้านนอกของศาสนสถานไม่ได้ก่อเป็นกำแพงทึบแต่ตั้งเป็นเสาเว้นระยะห่าง
                   กันไป

                           • ศิขรแบบเวสะระพัฒนาไปหลายขั้นตอน โดยในช่วงแรกเป็นศิขรที่ผสมผสาน



                          40  Benjamin Rowland, The Art and Architecture of India Buddhist, Hindu, Jain, p. 181.
                          41  Ibid., pp. 182-183.
                          42  Lalit Chugh. (2016). Karnataka's Rich Heritage - Art and Architecture: From Prehistoric Times to the
                   Hoysala period. Chennai: Notion Press, n.pag.
   236   237   238   239   240   241   242   243   244   245   246