Page 237 - 001
P. 237

226


                   ราชสิงหะ (Rajasimha) แห่งราชวงศ์ปัลลวะ ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 13 (คริสต์ศตวรรษ

                   ที่ 8) มันถูกลงความเห็นว่าเป็นเทวาลัยชุดสุดท้ายในกลุ่มเทวาลัยริมฝั่งทะเลที่ยังหลงเหลืออยู่
                   ในปัจจุบัน
                          เทวาลัยริมฝั่งทะเลสร้างจากหินแกรนิตมาเรียงซ้อนกันขึ้นไป ประกอบไปด้วยอาคาร

                   ขนาดใหญ่ 1 หลัง และอาคารขนาดเล็ก 2 หลัง และแท่นบูชาขนาดย่อมอีกหลายแห่ง
                   เทวสถานหลังใหญ่ มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ล้อมรอบด้วยกำแพง 3 ด้าน หันหน้าไปทาง

                   ตะวันออก หลังคาสร้างซ้อนชั้นขึ้นไปเป็นทรงปิรามิดสูงถึง 18 เมตร ภายในเทวาลัยหลังใหญ่
                   ประดิษฐานศิวลึงค์ ส่วนเทวาลัยหลังเล็กจะอยู่ด้านหลัง โดยมีอาคารขนาดเล็กคั่นอยู่ระหว่าง
                   เทวสถานทั้งสองหลัง อาคารหลังนี้มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในประดิษฐานเทวรูป

                   พระวิษณุในรูปของอนันตศายิน (Ananthasayana) หรือที่รู้จักกันในชื่อนารายณ์บรรทมสินธุ์
                          เทวสถานแห่งนี้เป็นสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาเทวสถานที่ก่อสร้างด้วย

                   การนำแท่งหินมาประกอบกันในอินเดียใต้ และเป็นต้นแบบของเทวสถานที่สำคัญ 2 แห่ง ซึ่ง
                   ตั้งอยู่ห่างออกไปทางตอนเหนือในเดคข่าน คือ เทวสถานวิรูปักษา (Virupaksha) ของ
                                                                                                  38
                   ราชวงศ์จาลุกยะ และเทวสถานไกลาสนาถ (Kailasanatha) ในกาญ จีปุรัม
                   (Kanchipuram)































                                              ภาพที่ 76 เทวาลัยริมฝั่งทะเล

                   ที่มา : https://www.pexels.com/ [Online], accessed 14 May 2018.

                          สถาปัตยกรรมสมัยราชวงศ์โจฬะ

                          อาณาจักรปัลลวะได้ล่มสลายลงจากการที่ราชวงศ์ปาณฑยะ (Pandya) และโจฬะ
                   (Chola) ได้ผนึกกำลังกันเข้าโจมตี ในปีพ.ศ. 1440 แต่แล้วในเวลาต่อมา ราชวงศ์โจฬะก็ได้


                          38   Vasudeva S. Agrawala. (1984). The heritage of Indian art. New Delhi : Publication Devision, p. 23.
   232   233   234   235   236   237   238   239   240   241   242