Page 244 - 001
P. 244
233
ภาพที่ 83 เทวาลัยลิงคราช
ที่มา : https://commons.wikimedia.org/ [Online], accessed 10 September 2018.
สรุปพฒนาการของสถาปัตยกรรมอินเดียใต้
44
ั
1. เป็นสถาปัตยกรรมที่มีหลังคาก่อด้วยศิลาซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆ และใช้รูปจำลอง
อาคารนั้นๆ ประดับบนหลังคา มีทั้งผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสและสี่เหลี่ยมผืนผ้า เช่น ที่มหาพาลีปุรัม
2. ชั้นหลังคามากขึ้นจนหลังคากลายเป็นส่วนสำคัญที่สุดของอาคาร ศาสนสถานที่
เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดในช่วงนี้คือเทวสถานริมฝั่งทะเลที่มหาพาลีปุรัม (หรือมาวลีปุรัม) และ
มหาวิหารที่เมืองตันชอร์ มีหลังคา 13 ชั้น คลุมอยู่บนอาคารใหญ่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
3. ต่อมาหลังคาด้านบนสุดจะเป็นรูปโค้งยาว เทลงมา 2 ด้าน
4. ตั้งแต่พทธศตวรรษที่ 18 (คริสต์ศตวรรษที่ 13) เป็นต้นมา ส่วนสำคัญที่สุดของ
ุ
เทวสถานทมิฬ (ดราวิเดียน) ไม่ใช่วิมาน (ที่อยู่ตรงกลางและมีขนาดเล็ก) อีกต่อไป ส่วนสำคัญ
ที่สุดกลายเป็นประตูชั้นนอกที่เรียกว่าโคปุระที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เทวสถานแบบทมิฬที่สมบูรณ์
แบบที่สุดในช่วงนี้คือเทวสถานที่มาทุระทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย อายุราวพทธ
ุ
ศตวรรษที่ 22 (ราวคริสต์ศตวรรษที่ 17)
สถาปัตยกรรมแบบอิสลาม
การเข้ามามีอำนาจของชาวมุสลิมต่างชาติทั้งเตอร์กและโมกุลทำให้สถาปัตยกรรมใน
อินเดียเกิดแนวทางใหม่ขึ้นมา ซึ่งศิลปกรรมของอิสลามได้ให้ความสำคัญต่องานทางด้าน
สถาปัตยกรรมมากที่สุด ดังนั้น จึงมีการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างเป็นจำนวนมากอันประกอบไป
ด้วย ป้อมปราการ มัสยิด สุสานและพระราชวัง โดยลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมอิสลาม
คือการนิยมใช้หินเป็นวัสดุหลัก ใช้โครงสร้างแบบวงโค้ง (Arch) การทำหลังคารูปโดมหรือ
45
ทรงกลม ลายฉลุ งานฝังหินสี และอักษรศิลป์ (Artistic calligraphy)
44 จิรัสสา คชาชีวะ, โบราณคดีอินเดีย, หน้า 448-449.
45 Vasudeva S. Agrawala, The heritage of Indian art, p. 27.