Page 118 - 001
P. 118

107


                                                                       ื้
                   ปกครองของราชวงศ์อานธระหรือศาตวาหานะ ในขณะที่พนที่ใต้ไกลอยู่ในความดูแลของกลุ่ม
                   ทมิฬ ดังที่ได้กล่าวรายละเอียดไปแล้วในบทที่ 6 อินโด-โรมันจึงเป็นสมัยของการเกิดกิจกรรม
                   ทางการค้าระหว่างที่ราชวงศ์ต่างๆเหล่านี้มีอำนาจขึ้นปกครองอินเดีย
                          จุดเริ่มต้นของการค้าระหว่างสองซีกโลกนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อโรมันสามารถมีชัยเหนืออียิปต์

                                   ุ
                   และซีเรียในราวพทธศตวรรษที่ 5 (100 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งทำให้สามารถเปิดเส้นทางไปสู่
                   การค้ากับอินเดียได้ โดยมีอยู่ด้วยกัน 2 เส้นทางหลัก คือ เส้นทางที่ 1 เริ่มต้นขึ้นที่เมือง

                   อเล็กซานเดรีย (Alexandria) ล่องแม่น้ำไนล์ลงไปทางใต้จนถึงเมืองคอปตอส (Koptos) ข้าม
                   ทะเลทรายไปทางด้านตะวันออก จะสามารถลงเรือได้ที่เมืองท่าเบเรไนก์ (Berenike) และ
                   ไมยอส ฮอร์มอส (Myos Hormos) ออกสู่มหาสมุทรอินเดียทางทะเลแดง (Red sea) ในขณะที่

                   เส้นทางที่ 2 เริ่มต้นที่เมืองอันติออช (Antioch) ลงใต้ไปจนถึงเมืองปาล์มีระ (Palmyra) จากนั้น
                                                             ื่
                   ล่องแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีสเข้าสู่อ่าวเปอร์เซีย เพอออกสู่มหาสมุทรอินเดีย อย่างไรก็ดี เส้นทาง
                   เหล่านี้พ่อค้าและนักเดินเรือชาวโรมันไม่ได้สร้างมันขึ้นมาเอง แต่เป็นการใช้เส้นทางการค้าเดิมที่
                   ชาวพื้นเมืองใช้มาก่อนหน้านี้แล้ว
                                                11
                          ข้อมูลเกี่ยวกับยุคอินโด-โรมันนี้ได้รับการบันทึกไว้ในเอกสารโบราณที่หลากหลายซึ่ง

                   สามารถนำมาพิจารณาร่วมกันกับหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้มีการขุดค้นและสำรวจทั่วประเทศ
                   อินเดีย โดยสามารถจำแนกหลักฐานต่างๆได้ดังต่อไปนี้


                   หลักฐานประเภทเอกสาร
                          1.  บันทึกการเดินเรือของชาวยุโรป (The Periplus of the Erythrean Sea) เขียนขึ้น

                                 ่
                   โดยฮิปปาลุส พอค้าชาวกรีกลูกครึ่งอียิปต์ ซึ่งเดินเรือมาค้าขายทางซีกโลกตะวันออกในช่วงต้น
                    ุ
                   พทธศตวรรษที่ 7 (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1) จัดเป็นหนังสือคู่มือการเดินเรือมาค้าขายยังโลก
                   ตะวันออกฉบับแรกของโลก หนังสือเล่มนี้ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางเดินเรือจากทะเลแดงสู่
                   อินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ข้อมูลเกี่ยวกับลมมรสุมเนื่องจากเขาสังเกตว่าระหว่างทะเลแดง
                                                  ั
                   กับอินเดียในปีหนึ่งๆ จะมีฤดูลมพดตรงตามกำหนดแน่นอน อาจแล่นเรือออกทะเลลึกตัด
                   ทางตรงไปกลับได้ตามฤดูลมมรสุม  โดยไม่ต้องเสียเวลาแล่นเรือเลียบชายฝั่งอีกต่อไป นอกจากนี้
                   ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับเมืองท่าและเมืองต่างๆริมชายฝั่งทะเล เป็นต้นว่า เมืองบรอช (Broach)

                   อุชเชน (Ujjain) โสปาระ (Sopara)  ฯลฯ นอกจากนี้บันทึกดังกล่าวยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า
                   ส่งออกของอินเดียว่าประกอบไปด้วยเครื่องเทศ เครื่องนุ่งห่มจากผ้าฝ้าย ผ้ามัสลิน ไข่มุก หิน
                   ประเภทกึ่งอัญมณี เป็นต้น ในขณะที่สินค้านำเข้าจากโรมันประกอบไปด้วย เหล้าไวน์ น้ำมัน

                   มะกอก ภาชนะดินเผาประเภทแอมฟอร่า (amphora) ตะเกียง เครื่องแก้ว หินคามิโอสลัก
                   ลวดลาย ฯลฯ

                          2.  หนังสือจีโอกราฟเฟีย (Geographia) หรือหนังสือภูมิศาสตร์ของสตราโบ (Strabo :






                          11  Parisa Atighimoghadam. (2012). Indo-Roman Trade: Rise and Demise. Master of Arts ’s Thesis,
                   University at Buffalo, p. 3.
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123