Page 120 - 001
P. 120

109


                   แม่น้ำดานูบ (Danube) เกาะบริเตน (Britain) สก๊อตแลนด์ ฝรั่งเศส อิตาลี กรีซ เลอวองท์ และ

                   ทางตอนใต้ของแถบเมดิเตอเรเนียน ส่วนในอินเดียพบที่เมืองอริกเมฑุ เมืองท่าโบราณสำคัญทาง
                         12
                   ตอนใต้






























                                             ภาพที่ 33 ภาชนะเตอร์รา ซิคิลลาต้า
                   ที่มา : https://upload.wikimedia.org/ [Online] accessed 28 October 2018

                          ภาชนะประเภทเตอร์รา ซิคิลลาต้าเริ่มปรากฏมาตั้งแต่ช่วงพทธศตวรรษที่ 4 เป็น
                                                                                   ุ
                   ภาชนะที่มีสีดำมันวาว (เลียนแบบภาชนะโลหะ) และเริ่มเปลี่ยนมานิยมผิวสีแดงมันวาวกัน
                   ในช่วงต้นพทธศตวรรษที่ 5 มีการตกแต่งด้วยเทคนิคกดประทับ (stamped technique) ด้วย
                             ุ
                   การกดด้วยแม่พิมพ์ให้เกิดลายนูน กล่าวได้ว่าเทคนิคที่ใช้ในการผลิตภาชนะดินเผาที่ตกแต่งด้วย
                   ลายประทับนี้เป็นเทคนิคโบราณที่สืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรไมซีเนีย (Mycenae) จนถึง
                   สมัยอาณาจักรโรมัน ในประเทศอินเดียได้พบภาชนะดินเผาแบบเตอร์รา ซิคิลลาต้าเป็นจำนวน

                   มากที่เมืองท่าที่มีการตั้งนิคมการค้าของชาวโรมัน
                          ในการขุดค้นที่เมืองอริกเมฑุได้พบชิ้นส่วนของภาชนะแบบนี้ในชั้นวัฒนธรรมที่มีอายุอยู่

                   ในช่วงปลายพทธศตวรรษที่ 6 นอกจากจะเป็นภาชนะนำเข้าจากอาณาจักรโรมันแล้ว ยังพบว่า
                               ุ
                   ช่างปั้นหม้อชาวอินเดียได้ผลิตภาชนะเลียนแบบเตอร์รา ซิคิลลาต้า เพื่อสนองความต้องการของ
                   ชาวโรมันที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณเมืองท่าชายฝั่งด้านตะวันตก ดังได้ขุดพบภาชนะดินเผาแบบนี้ที่

                               ื้
                   ผลิตโดยช่างพนเมืองของอินเดียในแคว้นเสาราษฏระ ซึ่งผลิตสืบทอดมาจนถึงสมัยคุปตะ (พทธ
                                                                                                   ุ
                   ศตวรรษที่ 9-11) เนื่องจากภาชนะประเภทนี้เป็นที่นิยมของชาวอินเดียชั้นสูงจนถึงสมัยคุปตะ
                   โดยนิยมตกแต่งผิวภาชนะด้วยลายประทับในกรอบสี่เหลี่ยม ลวดลายที่พบก็มีทั้งลายนิยมของ
                   โรมัน เช่น ภาพนักรบ ภาพการล่าสัตว์และนักระบำ ซึ่งพบที่เมืองอัมเรลิ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม


                          12  Kishor K.Basa & Karuna Sagar Behera. (1999). Indo-Roman Trade. Maritime Heritage of India, New Delhi
                   : Aryan Books International, p. 16.
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125