Page 122 - 001
P. 122
111
เมืองไบถาโน (พม่า) บูกิต เตงกู เลมบู ในเมืองเปอร์ลิส (มาเลเซีย) และเมืองโบราณตารุมา
(อินโดนีเซีย) เป็นต้น
ส่วนในประเทศไทยนั้น พบภาชนะดินเผาแบบรูแลตด์ครั้งแรกจากการขุดค้นที่แหล่ง
โบราณคดีภูเขาทอง เขตกิ่งอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง การพบภาชนะดินเผาประเภทนี้
ั
แสดงให้เห็นถึงความสัมพนธ์ทางการค้าและวัฒนธรรมระหว่างชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันออก
ั
ของอินเดีย และชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบนโดยเฉพาะบริเวณประเทศไทยว่ามีความสัมพนธ์
กันอย่างใกล้ชิด และทำให้แนวความคิดเดิมที่เชื่อว่าไม่มีการติดต่อค้าขายอย่างจริงจังจาก
มหาสมุทรอินเดียไปเกินกว่าอ่าวเบงกอลในช่วงต้นคริสตกาล (พทธศตวรรษที่ 6-7) ต้อง
ุ
15
เปลี่ยนไป
3. โบราณวัตถุที่ทำด้วยสำริด พบมากที่เมืองโคลหะปุระ (Kolhapur) ในมหาราษฏร์
(Maharashtra) ประกอบไปด้วย ประติมากรรมสำริด เช่น รูปเทพโปไซดอน เปอร์ซีอุส
(Perseus) และนางอันโดรเมดา (Andromeda) ภาชนะใส่ของเหลวมีหูจับ ซึ่งได้รับการกำหนด
อายุไว้แล้วว่า ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในราวพทธศตวรรษที่ 6 (คริสต์ศตวรรษที่ 1) ยกเว้นแต่
ุ
ประติมากรรมรูปเทพโปไซดอนที่น่าจะมีอายุก่อนหน้านี้
4. เหรียญโรมัน พบเป็นจำนวนมากบริเวณเมืองท่าชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ คือ เมือง
อริกเมฑและเมืองกาเวริปัฏฏินัมในช่วงพทธศตวรรษที่ 6-7 ซึ่งมีการตั้งถิ่นฐานของพอค้าโรมัน
่
ุ
ุ
เหรียญส่วนใหญ่อยู่ในสมัยจักรพรรดิออกุสตุส (Augustus: 31 ปีก่อนคริสตกาล – คริสตศักราช
ที่ 14) และจักรพรรดิทิแบริอุส (Tiberius: คริสตศักราชที่ 14-37) ซึ่งพบทั้งเหรียญเงินที่เรียกว่า
“ดีนารีอ์” (denarii) และเหรียญทองที่เรียกว่า “อาวเรอ์” (aurei) อย่างไรก็ดี การปรากฏขึ้น
ของเหรียญโรมันทางด้านตะวันตกของแถบเดคข่านและอินเดียตอนใต้เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า
แม้แต่การค้าระดับท้องถิ่นในแถบเดคข่านตะวันตกรวมไปถึงในราชวงศ์ศาตวาหนะ ก็มีการ
นำเอาเหรียญโรมันทั้งเหรียญทองและเงินเข้ามาใช้ในระบบเช่นเดียวกัน และดังที่กล่าวไปแล้วใน
ตอนต้นว่า การค้าระหว่างโรมันและอินเดียมีความเข้มข้นจนทำให้ปลินี (Pliny) ถึงกับอ้างว่า
การทำการค้ากับตะวันออก (คืออินเดีย) ทำให้เหรียญโรมันไหลออกนอกประเทศถึง 100 ล้าน
เหรียญเงิน (sesterce) และเป็นสาเหตุให้เกิดวิกฤติการณ์การเงินขึ้นในโรมันในเวลาต่อมา
15 บุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ. ทุ่งตึก เมืองท่าการค้าโบราณ, หน้า 135-136.