Page 121 - 001
P. 121

110


                   สัญลักษณ์อันเป็นมงคลตามคติความเชื่อของชาวอินเดีย เช่น ศรีวัตสะ สวัสดิกะ วัชระ หม้อปู

                   รณฆฏะและรูปสัตว์ชั้นสูง เช่น สิงห์ ช้าง และหงส์ ก็ปรากฏเป็นลวดลายในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า
                   ที่ประดับบนผิวภาชนะประเภทนี้ด้วยเช่นกัน
                          ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้พบการแพร่กระจายของภาชนะประเภทเตอร์รา ซิคิล

                   ลาต้านี้ตามเมืองท่าหรือศูนย์กลางการค้าโบราณ เช่น ที่เมืองไบถาโน (ประเทศพม่า) ซึ่งเป็น
                   เมืองสำคัญของพวกปยูและพบที่เมืองออกแก้ว (เวียดนามตอนใต้) สำหรับลายประทับบน

                   ภาชนะที่เมืองไบถาโนนั้นทำเป็นสัญลักษณ์อันเป็นมงคลตามคตินิยมของชาวอินเดีย เป็นต้นว่า
                   สัญลักษณ์รูปศรีวัตสะ กลศ ปูรณฆฏะ ซึ่งแสดงว่าเป็นการผสมผสานกันระหว่างอิทธิพลอินเดีย
                   และโรมัน ส่วนที่เมืองออกแก้วนั้นพบน้อยชิ้น และอาจเป็นชิ้นส่วนของภาชนะที่นำเข้ามาจาก

                                13
                   ประเทศอินเดีย


                          2.  ภาชนะดินเผาแบบรูแลตด์ (roulette ware) ภาชนะดินเผาประเภทนี้เรียกตาม
                                                              ั
                   เทคนิคที่ใช้ตกแต่งผิวภาชนะ คือ การกดด้วยซี่ฟนเฟือง (a toothed wheel) ลงบนผิวภาชนะ
                   ขณะที่ยังเปียกอยู่ ทำให้เกิดเป็นรอยขุดลึกที่เป็นแถวอย่างมีระเบียบ (symmertrical picked

                   decoration) จึงเรียกว่า รูแลตด์แวร์ เป็นเทคนิคการตกแต่งภาชนะดินเผาที่นิยมกันในสมัยเฮ
                   เลนนิสติคจนถึงสมัยโรมัน และใช้ตกแต่งผิวภาชนะทั้งด้านในและด้านนอก ภาชนะดินเผา

                   ประเภทนี้จัดเป็นภาชนะดินเผาเนื้อดีที่ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนเร็ว เมื่อผ่านการเผาแล้วจะมีสีเทา
                   หรือสีชมพูอมเทา (เป็นสีที่ได้จากการเผาแบบลดออกซิเจน [reduction firing]) ซึ่งก่อนการเผา
                   ทั้งผิวด้านในและด้านนอกของภาชนะจะได้รับการทาน้ำดินก่อน เมื่อเผาโดยคว่ำภาชนะลง ทำ

                   ให้ผิวด้านในมีสีดำ ส่วนด้านนอกเป็นสีเทา ดำ หรือน้ำตาล แต่ส่วนมากจะทาน้ำดินสีดำทั้งด้าน
                   นอกและด้านใน ผิวด้านในมีการขัดจนขึ้นเงา ลวดลายที่พบมากคือลายรูปสามเหลี่ยม เหลี่ยม

                   ของเพชร เสี้ยวพระจันทร์ และรูปไข่
                          ภาชนะดินเผาประเภทนี้แพร่กระจายอยู่ในวงกว้างทั้งในประเทศอินเดียและเอเชีย
                   ตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในแถบชายฝั่งโคโรมันเดล (Coromandel) และเมืองท่าอริกเมฑ    ุ

                                                   ิ
                   ในอินเดียใต้ที่มีความหนาแน่นเป็นพเศษ ซึ่งที่เมืองท่าอริกเมฑได้ขุดพบภาชนะประเภทรูแลตด์
                                                                          ุ
                   แวร์นี้ในชั้นวัฒนธรรมที่มีอายุอยู่ระหว่างปลายพทธศตวรรษที่ 5 ถึงต้นพทธศตวรรษที่ 7 ทั้งนี้
                                                                                   ุ
                                                              ุ
                   จากการศึกษาของวิมาลา เบิกเลย์ (Vimala Begley) นักโบราณคดีชาวอินเดียพบว่า ภาชนะดิน
                   เผาแบบรูแลตด์ปรากฏขึ้นเป็นจำนวนมากในแถบลุ่มน้ำคอเวรีย์ (Cauvery) หรือกาเวรี (Kaveri)
                   และชายฝั่งทางด้านตะวันออกของอินเดียใต้ นอกจากนี้ยังดูเหมือนว่ามันจะปรากฏขึ้นเฉพาะใน

                   แถบเมือง (urban) หรือศูนย์กลางทางศาสนาเท่านั้น แต่กลับไม่พบในแหล่งที่เป็นหมู่บ้าน
                               14
                   (village) เลย  ภาชนะดินเผาประเภทนี้ก็เหมือนกับภาชนะแบบเตอร์รา ซิคิลลาต้า คือ มีการ
                   ผลิตขึ้นโดยช่างพนเมืองของอินเดียเอง และมีความแพร่หลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                                   ื้
                   มากกว่าแบบเตอร์รา ซิคิลลาต้า ดังได้พบตามเมืองท่าโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น




                          13  ผาสุข อินทราวุธ. สุวรรณภูมิจากหลักฐานทางโบราณคดี, หน้า 55.
                          14  Kishor K.Basa & Karuna Sagar Behera. Indo-Roman Trade. Maritime Heritage of India, p. 18.
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126