Page 123 - 001
P. 123
112
ภาพที่ 34 เหรียญโรมันพบที่อินเดีย
ที่มา : https://en.wikipedia.org/[Online] accessed 28 October 2018
หลักฐานทางโบราณคดีอื่นๆ นอกจากโบราณวัตถุประเภทภาชนะดินเผา เครื่องสำริด
และเหรียญแล้ว ยังมีรายงานการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีประเภทอื่นๆในเมืองต่างๆของ
อินเดีย เช่น การพบตะเกียงโรมันที่เมืองเตอร์ (Ter) แก้วโรมันที่เมืองตักษิลา (ประเทศ
ปากีสถาน) และเหรียญเลียนแบบเหรียญโรมันในสมัยจักรพรรดิทิแบริอุสและออกุสตุส ซึ่งมี
รายงานว่าพบในมหาราษฏร์ อานธระประเทศ กรรนาตากะ (Karnataka) อุชเชน อุตตระ
ประเทศ โอริสสา และตัมลุกในแถบเบงกอลตะวันตก นอกจากนี้ ที่เมืองปอมเปอี ซึ่งเป็นเมือง
ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของโรมันยังค้นพบประติมากรรมรูปพระลักษมี (Lakshmi) และ
16
ยักษิณี (Yakshini) ที่ทำจากงาช้างอีกด้วย
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในยุคอินโด-โรมัน: อริกเมฑุ
เมืองโบราณอริกเมฑุ (Arikamedu) เป็นแหล่งโบราณคดีที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของเมือง
ปอนดิเชอร์รี (Pondicherry) ประมาณ 3.2 กิโลเมตร โดยเมืองปอนดิเชอร์รีเป็นศูนย์กลางที่
สำคัญแห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย สภาพแวดล้อมของเมืองโบราณ
แห่งนี้มีสภาพเป็นปากน้ำเก่าของแม่น้ำคิงคี (Gingee River) หรือที่เรียกอีกชื่อว่าแม่น้ำวราหนที
(Varahanadi River) แต่ในปัจจุบันนี้แม่น้ำดังกล่าวได้ถูกปิดกั้นทางเดิน จนกลายสภาพเป็นบึง
น้ำเค็มหรือลากูน (lagoon) ขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งบึงน้ำเค็มแห่งนี้มีหมู่บ้านตั้งอยู่หลายแห่ง
และมีการค้นพบเนินดิน ซึ่งภายใต้เนินดินปรากฏสิ่งก่อสร้างที่ทำด้วยอิฐเป็นแนวยาวยื่นออกมา
ในแม่น้ำหลายแห่ง ทั้งนี้ ชาวบ้านทั่วไปได้เรียกเนินดินนี้ว่า “อริกเมฑุ” แต่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่
ุ
ชัดว่าที่มาของชื่อนี้มีต้นกำเนิดอย่างไร นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า ชื่ออริกเมฑนี้อาจสืบ
ุ
เนื่องมาจากคำว่า “อรุกกุเมฑ” (Arukkumedu) ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายว่า “เนินของซาก
ปรักหักพง” โดยคำว่า “อรุกกุ” มีความหมายว่าทำลายหรือซากปรักหักพง หรือในอีกทางหนึ่ง
ั
ั
คำว่าอริกเมฑอาจจะมาจากคำว่า “อรุกุเมฑ” (Arukumedu) ซึ่งมีความหมายว่า “เนินดินบน
ุ
ุ
17
ริมฝั่งแม่น้ำ”
16 Kishor K.Basa & Karuna Sagar Behera. Indo-Roman Trade. Maritime Heritage of India, p. 20.
17 ปรีชา นุ่นสุข. (2549). เมืองโบราณอริกเมฑ : ศูนย์กลางการค้าบนชายฝั่งตะวันออกของอินเดีย. ม.ป.ท., หน้า 4
ุ