Page 65 - 2566
P. 65
หมวด 5 บุคลากร
5.1 สภาพแวดล้อมของบุคลากร
5.1ก ขีดความสามารถและอัตราก าลังบุคลากร
5.1ก(1) ความต้องการขีดความสามารถและอัตราก าลัง สำนักฯ โดยคณะกรรมการ HRT กำหนดขีด
ความสามารถและอัตรากำลังของบุคลากรโดยจัดทำแผนบุคลากรที่สนับสนุนวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และ
แผนปฏิบัติการทั้งระยะสั้นและระยะยาว (ตารางที่ 2.1-02) การคาดการณ์ผลการดำเนินการในอนาคต (ตาราง
ที่ 4.1-03) และจำนวนบุคลากรตามมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา โดยการทบทวนความต้องการ
อัตรากำลังและขีดความสามารถของบุคลากรเพื่อให้มีจำนวนบุคลากรที่เพียงพอรองรับการเปลี่ยนแปลง
สอดรับกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ แผนกลยุทธ์ (ภาพที่ OP1-01) และการคาดการณ์จำนวนนักศึกษาใหม่และ
สมรรถนะหลักของมหาวิทยาลัย และจำนวนบุคลากรที่จะเกษียณในอนาคตของสำนักฯ เพื่อตอบสนองภารกิจ
เชิงยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์การเป็นอุทยานการเรียนรู้ตลอดชีวิตชั้นนำระดับชาติ โดยมีการวิเคราะห์
อัตรากำลังทุกปี รวมทั้งวิเคราะห์อัตรากำลังกับคู่เทียบ โดยกำหนดเป็นแผนอัตรากำลังและคุณลักษณะ
บุคลากรที่พึงมีเพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์องค์กรได้บรรลุเป้าหมายของสำนักฯ ในการวางแผนอัตรากำลัง
คณะกรรมการ HRT มีการจัดทำโครงสร้างอัตรากำลังแต่ละระดับจำแนกตามฝ่าย ลักษณะงาน โดยคำนึงถึง
ความเชี่ยวชาญและหนังสือรับรองคุณวุฒิที่จำเป็นของบุคลากร คณะกรรมการ HRT มีการวิเคราะห์ขีด
ความสามารถจากข้อมูลการปฏิบัติงานบุคลากรจาก TOR มาวิเคราะห์ปริมาณงานกับจำนวนอัตรากำลัง
ปัจจุบัน โดยมีการกำหนดค่ามาตรฐานการทำงานของบุคลากรต่อคนทั้งปี เท่ากับ 1,540 LU และระดับ
สมรรถนะรายบุคคล (Competency) เทียบกับสมรรถนะที่ต้องการตามแผนกลยุทธ์ โดยกำหนดลักษณะงานที่
ประกอบด้วย 1) ความเป็นมืออาชีพ 2) ความรับผิดชอบต่อสังคม และ 3) รู้รักสามัคคี และข้อมูลจาก
แผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล (IDP) เพื่อให้บุคลากรมีทักษะและความสามารถที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
สอดคล้องวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ดังนี้ 1) ตามกลุ่มการพัฒนาและตามลักษณะของงาน 2) สมรรถนะที่จำเป็น
3) ระยะเวลาการทำงาน และ 4) ระดับของตำแหน่งงาน สำนักฯ มีระบบ TOR for OAR ติดตามและวิเคราะห์
ั
ปริมาณงานทุกปี โดยกลุ่มทั่วไปต้องมีทักษะทางด้านบริการ กลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษต้องมีทักษะการพฒนา
นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มผู้นำต้องมีทักษะการบริหารจัดการองค์กร การเป็น Leadership และเมื่อ
พิจารณาลงมาสู่ลักษณะงาน กำหนดดังนี้ บรรณารักษ์มีความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัล (Digital Librarian) นักเทค
โนฯ มีความเชี่ยวชาญทางสื่อและการอบรมออนไลน์ มีทักษะความรู้ทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ บุคลากรสำนักงานมี
ทักษะทาง IT เพื่อการเป็น SMART Office และ Digital Form เป็นต้น เพื่อให้บุคลากรมีความรู้เท่าทันต่อการ
เปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้ใช้บริการ มีช่องทางการเพิ่มความรู้และขีดความสามารถให้บุคลากร
ทาง OAR Upskill-Reskill และส่งเสริมให้บุคลากรเข้ารับการอบรมทางออนไลน์ที่มีหลักสูตรที่ตอบวิสัยทัศน์
และพันธกิจขององค์กร รวมทั้งหลักสูตรที่บุคลากรสนใจ เพื่อนำมาพัฒนางานในหน้าที่และพัฒนาผลงานต่อไป
ทั้งยังมีการสอบถามความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากรทางแบบสำรวจออนไลน์เพื่อจัดหลักสูตร
พัฒนาตรงตามความต้องการและเพื่อสร้างความพึงพอใจต่อองค์กรและบรรลุวิสัยทัศน์ โดยปี พ.ศ. 2566
สำนักฯ มีระบบการประเมินขีดความสามารถและกำหนดกรอบอตรากำลัง (ภาพที่ 5.1-01) และมีการทบทวน
ั
ขีดความสามารถและอัตรากำลังเพื่อสอดคล้องกับทิศทางการดำเนินการขององค์กรและขับเคลื่อนกลยุทธ์เชิง
59