Page 59 - 2566
P. 59
หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
และด้านผลงานนวัตกรรมมีผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อนวัตกรรมโดยรวม (ปี 2564 = 89.80,
ปี 2565 = 89.60, ปี 2566 = 100) (ภาพที่ 7.1-16)
4.2 การจัดการสารสนเทศ และการจัดการความรู้
4.2ก ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักฯ ได้ให้
ความสำคัญกับข้อมูลและสารสนเทศ โดยผู้บริหาร
ระดับสูงกำหนดนโยบายการพัฒนาระบบ
สารสนเทศ เพื่อให้มั่นใจถึงคุณภาพของข้อมูลและ
สารสนเทศให้มีคุณภาพและพร้อมใช้งาน มีการ
แต่งตั้งคณะกรรมการ MT ร่วมกับคณะกรรมการ
INT และกลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศรับผิดชอบ
จัดการระบบฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เครือข่าย และ
อบรมให้ความรู้กับบุคลากร ผู้ใช้บริการ รวมถึง ภาพที่ 4.2-01 กระบวนการในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
พัฒนาระบบสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานและมีความพร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่องตามหลัก FOREST
โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก (ตารางที่ 4.2-01) คือ ส่วนของโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ และส่วนของระบบสารสนเทศที่
สำนักฯ พัฒนาเพื่อให้บริการกลุ่มต่าง ๆ โดยคณะกรรมการ MT และคณะกรรมการ INT จะมีการทบทวนกระบวนการ
ดำเนินการทุกปี การพัฒนานวัตกรรมบริการลักษณะเว็บไซต์ ระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ
ดำเนินการตามหลักวงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ ที่เรียกว่า System Development Life Cycle (SDLC)
(ภาพที่ 4.1-04) และเพื่อความถูกต้องสมบูรณ์ของตัวผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง ทันเวลา และตรงตาม
ความต้องการของลูกค้าสูงสุด จึงได้มีการนำเอาหลักการ Agile Software Development เข้ามาประยุกต์ใช้ใน
กระบวนการ SDLC โดยลูกค้าหรือผู้ใช้งานระบบจะเข้ามามีบทบาทเป็นหนึ่งในทีมพัฒนาระบบที่คอยให้ข้อมูล
หรือ Feedback loop เพื่อกำหนดทิศทางและความสามารถของระบบ ตลอดจนร่วมตรวจสอบและตรวจทานผลลัพธ์
ที่ได้จากแต่ละกระบวนการร่วมกับทีมพัฒนา จนกระทั่งได้ระบบสารสนเทศมาใช้งาน
ตารางที่ 4.2-01 การพัฒนาระบบสารสนเทศ
ส่วนหลัก การด าเนินการ
โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ (Information Infrastructure)
1) ความมั่นคงด้านกายภาพ มีการควบคุมสิทธิ์การเข้าถึงห้องควบคุมเครื่องแม่ข่าย มีระบบกล้องวงจรปิดคอยตรวจสอบ มีแผนและระบบการ
(Physical Security) เตรียมความพร้อมรับมือสำหรับภาวะฉุกเฉิน มีระบบแจ้งเตือนไปยังผู้ดูแลระบบเมื่อเกิดปัญหา มีเครื่องสำรองไฟฟ้า
(UPS) และเครื่องปั่นไฟฟ้าเมื่อมีเหตุไฟฟ้าดับมั่นใจได้ว่าเครื่องแม่ข่าย (Server) ระบบมีการสำรองข้อมูลทุกวันและ
นำไปจัดเก็บไว้ยังเครื่องแม่ข่ายภายนอกสำนักฯ เพื่อป้องกันความเสี่ยงหากเกิดภาวะฉุกเฉิน ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลไม่
สูญหาย
2) ด้านความมั่นคงและ มีระบบรักษาความปลอดภัย มีผู้รับผิดชอบและดูแลชัดเจน มีเครื่องแม่ข่ายจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ มีการ
ปลอดภัย (Cybersecurity) กำหนดสิทธิ์ในการเข้าใช้ มีการสำรองข้อมูลอัตโนมัติทุกวัน มีการตรวจสอบความพร้อมเครื่องแม่ข่าย มีการสำรอง
53