Page 190 - 006
P. 190
179
่
ในส่วนของการค้า ช่วงระยะเวลานี้พอค้าชาวต่างประเทศได้เข้ามาติดต่อค้าขายกับ
อินเดียตั้งแต่ศตวรรษก่อนหน้าแล้ว พ่อค้าชาวยุโรปหลายชาติประกอบไปด้วย โปรตุเกส อังกฤษ
ดัชต์ และฝรั่งเศส โดยในสมัยนี้โปรตุเกสได้อ้างว่าบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์
(Dutch East India Company) หรือ VOC (Vereenigde Oost-Indische Compagnie) เป็น
ผู้ผูกขาดการค้าเครื่องเทศไว้ทั้งหมด แต่โปรตุเกสในขณะนั้นได้ควบคุมเมืองท่าการค้าที่สำคัญ
19
คือ เมืองกัว (Goa) ทางชายฝั่งอินเดียตะวันตกของอินเดียไว้ได้ และได้ตั้งเมืองกัวเป็นเมืองหลวง
ของจักรวรรดิโปรตุเกสตะวันออก หน้าที่สำคัญของเมืองกัว คือ เป็นเมืองที่ควบคุมการเดินทาง
ไปแสวงบุญที่เมกกะ และเส้นทางการค้าขายที่ไปยังอียิปต์ อิรัค และเปอร์เซีย ร่วมอีกกับ 3
เมืองใหญ่ที่โปรตุเกสยึดไว้ได้เช่นเดียวกัน คือ โซคอทตรา (Socotra) ในบริเวณชายฝั่งทะเลแดง
ออร์มุซ (Ormuz) ในอ่าวเปอร์เซีย และดิอุ (Diu) ในแคว้นคุชราต
แม้โปรตุเกสจะมีอำนาจในเมืองท่าต่างๆที่สำคัญของอินเดีย แต่กำไรจากการค้า
เครื่องเทศในโลกตะวันออกก็ดึงดูดให้ชาติต่างๆในยุโรปเดินทางเข้ามาด้วยเช่นเดียวกัน ในสมัย
ของจาหันคีร์นี่เองที่อนุญาตให้บริษัทอังกฤษสร้างสถานีการค้าอย่างถาวรที่เมืองสุรัตในปี พ.ศ.
2156 (ค.ศ.1613)
20
ชาห์ จาฮาน (Shah Jahan : พ.ศ. 2171 – 2201 ; ค.ศ. 1628-1658)
จาหันคีร์สวรรคตในปีพ.ศ. 2170 และได้เกิดการแย่งชิงราชบัลลังก์กันในหมู่พระโอรส
ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งชาห์ จาฮาน (Shah Jahan) ได้ขึ้นครองราชย์เป็นเวลาต่อมา สมัยของ
ชาห์ จาฮานได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของราชวงศ์โมกุล ซึ่งเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคนี้ โดยพิจารณา
จากเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ เป็นต้นว่า การที่ไม่มีกบฏร้ายแรงที่แสดงถึง
การต่อต้านพระราชอำนาจของพระองค์ ไม่มีภัยคุกคามจากภายนอกประเทศ การค้ากับ
ต่างชาติมีความเจริญมั่งคั่ง และงานทางด้านสถาปัตยกรรมมีความยิ่งใหญ่และงดงาม สิ่งเหล่านี้
21
เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่ายุคสมัยนี้จักรวรรดิโมกุลมีความรุ่งเรืองและสงบสุข
19 K. N. Chaudhuri. (1982). European Trade with India. The Cambridge Economic History of India Volume
1: c.1200- c.1700. Great Britan: Cambridge University Press, p. 386.
20 ประภัสสร บุญประเสริฐ. ประวัติศาสตร์เอเชียใต, หน้า 329.
้
21 R.C. Majumdar. An Advanced History of India, p. 488.