Page 189 - 006
P. 189

178


                   พระองค์ทรงมีนโยบายไม่กีดกันศาสนาอื่นนอกจากศาสนาอิสลาม จึงให้อิสระแก่ชาวซิกข์ พร้อม

                   กับทรงอนุญาตให้ตั้งสุวรรณวิหารที่เมืองอมฤตสาระ (Amritsar) ซึ่งกลายเป็นศูนย์กลางของ
                   ศาสนาซิกข์มาจนถึงปัจจุบันนี้
                          อนึ่ง ก่อนหน้าคุรุหริ โควินท์ (Hari Govind) ซึ่งเป็นคุรุรุ่นที่ 6 คุรุทุกคนดำเนินนโยบาย

                   รักสงบมาโดยตลอด แต่ในสมัยคุรุอรชุน ท่านได้เข้าไปช่วยเหลือเจ้าชายคุสเรา (Khusrau)
                   พระโอรสของพระเจ้าจาหันคีร์ในการทำกบฏ แต่ไม่สำเร็จ คุรุอรชุนจึงถูกจำขังและทรมานจน

                                                                       ื่
                   เสียชีวิต คุรุหริ โควินท์ผู้ซึ่งเป็นบุตรชายจึงก่อตั้งกองทัพเพอปกป้องศาสนาซิกข์ และต่อสู้กับ
                   กองทัพของราชวงศ์โมกุลเรื่อยมา อย่างไรก็ตาม แม้ในภาพรวมแล้วพวกซิกข์จะสู้กองทัพของ
                   ราชวงศ์โมกุลไม่ได้ แต่เฉพาะในถิ่นของตนคือในแคว้นปัญจาบ พวกซิกข์ก็เป็นใหญ่และกองทัพ

                   โมกุลก็ไม่พยายามยุ่งด้วย พวกซิกข์เป็นที่รู้จักกันดีในสายตาชาวโลก เนื่องจากพวกซิกข์ออกมา
                   ค้าขายนอกประเทศอินเดีย และเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

                   เช่น ประเทศพม่า ไทย และสิงคโปร์ เป็นต้น

                   จาหันคีร์ (Jahangir : พ.ศ. 2148- 2170 ; ค.ศ. 1605-1627)

                          เมื่ออักบาร์สิ้นพระชนม์ เจ้าชายซาลิม (Salim) ได้ขึ้นครองราชย์และเปลี่ยนพระนาม
                   เป็น จาหันคีร์ ซึ่งในช่วงรัชสมัยของพระองค์นั้น พระองค์มีนโยบายการปกครองที่ใกล้เคียงกับ

                   อักบาร์ แต่จะมีแนวความคิดและศิลปะในการปกครองบางอย่างที่แตกต่างออกไป ในช่วงต้น
                   รัชกาลนั้น พระองค์ยังให้ความสำคัญกับกองทัพอยู่ แต่ภายหลังก็ให้ความสนพระทัยในเรื่อง
                   ศิลปะ วรรณคดี และการวาดภาพมากกว่าการบริหารบ้านเมือง ทำให้อำนาจของพระองค์

                                                                         ื้
                   อ่อนแอและเสื่อมลง เห็นได้จากการที่อาณาจักรต้องสูญเสียพนที่กันดาฮาร์ (Qandahar) ให้แก่
                   เปอร์เซีย

                          ทั้งนี้ ความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่เกิดขึ้นนี้มาจากการที่มเหสีชาวเปอร์เซียของ
                   พระองค์ คือ พระนางนูร์ จาฮาน (Nur Jahan) ผู้ซึ่งมีความทะเยอทะยานที่จะเข้าถึงการมี
                                                                           ี่
                   อำนาจทางการเมืองและเงินทอง ทำให้พระนางได้ชักจูงญาติพน้องเข้ามารับตำแหน่งสำคัญๆ
                                                                                                   16
                   ต่างๆในราชสำนัก และเป็นผู้ควบคุมการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศเป็นเวลาหลายสิบปี
                          ในเรื่องของศาสนานั้น พระองค์ยังคงดำเนินนโยบายการให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา

                                                                       17
                   รวมถึงการปรับปรุงแนวปฏิบัติตามความเชื่อดั้งเดิมให้ดีขึ้น  อย่างไรก็ตามพระองค์ก็แตกต่าง
                                        ั
                                                                                            ิ
                   กับพระบิดาที่แม้จะรับฟงหลักคำสอนในทุกศาสนา แต่ก็ไม่ได้ปฏิบัติหรือประกอบพธีกรรมใดๆ
                   ทั้งของฮินดู โซโลเอสเตอร์ และคริสต์  อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยของพระองค์ก็ได้เกิดความ
                                                     18
                   ขัดแย้งกับพวกซิกข์ เนื่องจากพระองค์ทรงสงสัยว่าพวกซิกข์ให้การสนับสนุนเจ้าชายคุสเรา
                   พระโอรสให้ก่อกบฏ จาหันคีร์จึงสั่งให้จับตัวคุรุอรชุนมาขังและทรมานจนเสียชีวิต เป็นเหตุให้

                   พวกซิกข์ตั้งตนเป็นปฏิปักษ์กับพระองค์ ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว





                          16  Burjor Avari. Islamic Civilization in South Asia, p. 102.
                          17  Ibid., p. 114.
                          18  R.C. Majumdar. An Advanced History of India, p. 470.
   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194