Page 44 - 001
P. 44

33


                   ไปด้วยอาหาร ภาชนะดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ และเครื่องประดับ สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับการฝัง

                                                                                                 ั
                   ศพในวัฒนธรรมฮารัปปาคือ มีรูปแบบที่มีความหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น ที่เมืองกาลิพนคัน
                                     ี
                   พบหลุมฝังศพที่มีเพยงเครื่องอุทิศเป็นสัญลักษณ์แต่ไม่พบโครงกระดูก ที่เมืองโมเหนโจ ดาโร
                                                      9
                   และฮารัปปา พบว่ามีการฝังศพครั้งที่ 2  รวมไปถึงการพบโกศฝังศพที่ภายในมีเพียงเถ้ากระดูก
                   อันแสดงว่าผ่านการเผามาแล้วด้วย
                                                                                                ื้
                             2.6 เศรษฐกิจและการค้า ความเป็นอยู่ของมนุษย์ในยุคนี้แม้จะยังอยู่บนพนฐาน
                   ของการทำเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ แต่การค้าขายหรือเครือข่ายการแลกเปลี่ยนผลิตผลได้
                   เพิ่มขึ้นมากกว่ายุคก่อน ในส่วนของการค้า เป็นผลมาจากการขาดแคลนแร่ธาตุที่สำคัญ ดังนั้น
                   จึงต้องนำเข้าทั้งจากดินแดนใกล้เคียงและที่ห่างไกลออกไป แร่ธาตุดังกล่าวประกอบด้วย

                   ทองแดง (copper) ดีบุ ก (tin) ท องคำ (gold) เงิน  (silver) หิ น ปูน  (limestone)
                   หินอลาบาสเตอร์ (alabaster) หินบะซอลท์ (basalt) หินแกรนิต (granite) หินอ่อน (marble)

                   หินชนวน (slate) หินสบู่ (steatite) ยิปซั่ม (gypsum) น้ำมันดิน (bitumen) หินกึ่งรัตนชาติ
                   ต่างๆ คือหยก (jade) เทอร์คอยส์ (turquoise)  ลาปิส ลาซูลี (lapis lazuli) และอมาโซไนต์
                   (amazonite)

                          แร่ธาตุบางชนิดอยู่ในแหล่งที่ห่างไกลออกไปมาก ซึ่งจากการพิจารณาโบราณวัตถุที่พบ
                   ร่วมกันกับบริเวณที่เป็นต้นกำเนิดของแร่ธาตุบางอย่าง ทำให้พอที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายการค้า

                                                                                                 ื้
                   ได้เป็น 2 เส้นทางหลักๆ ได้แก่ เครือข่ายภายในภูมิภาค และเครือข่ายภายนอกภูมิภาค พนที่ที่
                   อยู่ในเขตเครือข่ายภายในภูมิภาคได้แก่ บาลูจิสถาน แคว้นสินธุ์ ราชสถาน โจลิสถาน
                   (Cholistan) ปัญจาบ (Punjab) คุชราต และบริเวณทางเหนือของลุ่มน้ำคงคาและยมุนาที่เรียก

                   กันว่า “doab”อันมีความหมายว่า พื้นที่ที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำ 2 สายที่ไหลมาบรรจบกัน
                                                                      ั
                                                                            ื้
                          ในขณะที่เครือข่ายการค้าภายนอกภูมิภาคเกี่ยวพนกับพนที่ดังต่อไปนี้ อัฟฆานิสถาน
                   (Afghanistan) เอเชียกลาง ทางเหนือ-ตะวันออกของอิหร่าน ดินแดนตามเส้นทางน้ำในแถบ
                   อ่าวโอมาน (Gulf of Oman) อ่าวเปอร์เซีย (Persian Gulf) และบริเวณต่างๆในเขตเมโสโปเต
                   เมีย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศอิรัก อย่างไรก็ดี ยังคงมีการถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการว่า การค้า

                   ขายระหว่างภูมิภาคที่เกิดขึ้นไม่น่าจะเป็นการติดต่อกันโดยตรง แต่อาจมีตลาดกลางที่เป็น
                                                                             10
                   สถานที่แลกเปลี่ยนสินค้าจากแหล่งหนึ่งไปอีกแหล่งหนึ่งก็เป็นได้  (site to site exchange)
                   ดังเช่น เมืองเทเป ยาห์ยา (Tepe Yahya) ในอิหร่าน ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางทางบกระหว่างสินธุ
                   และเมโสโปเตเมีย เป็นต้น
                            2.7 การวัดและเครื่องชั่งตวง วัฒนธรรมฮารัปปาเป็นวัฒนธรรมที่พบหลักฐานของ

                   การมีระบบการวัดและชั่งน้ำหนักที่เก่าแก่ที่สุดในอินเดีย ระบบดังกล่าวมีส่วนช่วยอย่างมากต่อ
                   กลไกในการค้าและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสังคม ทั้งนี้ วัตถุหรือเครื่องมือที่ใช้ในการชั่งน้ำหนัก




                          9  การฝังศพครั้งที่ 2 คือ คือ การเลือกชิ้นส่วนกระดูกของผู้ตายเพียงบางส่วนขึ้นมา หลังจากมีการฝังครั้งแรกแล้วมาใน
                                    ่
                   ระยะเวลาหนึ่ง แล้วนำมาใสรวมกับเครื่องอุทิศในโกศแล้วนำไปฝัง ประเพณีการทำศพเช่นนี้เกิดขึ้นในสังคมทั่วโลก โดยเฉพาะสังคมใน
                   สมัยก่อนประวัติศาสตร-กึ่งก่อนประวัติศาสตร  ์
                                 ์
                          10  C.C.Lamberg-Karlovsky. (1979). Trade Mechanisms in Indus – Mesopotamian Interrelations. Ancient
                   Cities of the Indus. India: Vikas Publishing house, p. 132.
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49