Page 38 - 001
P. 38

27

























                                                     ภาพที่ 12 บ่อน้ำ

                     ที่มา: https://commons.wikimedia.org/ [Online], accessed 10 September 2018


                            2.2. ศิลปกรรมและงานฝีมือ โบราณวัตถุกลุ่มนี้ในวัฒนธรรมฮารัปปาไม่เพียงแต่ทำ

                   ด้วยวัสดุที่มีความหลากหลาย แต่โบราณวัตถุแต่ละประเภทยังแสดงออกให้เห็นถึงเทคโนโลยี
                   การผลิตที่ยอดเยี่ยม มีความชำนาญงานและทักษะฝีมือที่สูงส่งกว่าศิลปวัตถุอื่นๆที่พบในชั้น
                   วัฒนธรรมก่อนหน้า ทั้งนี้ เพอให้มองเห็นความเชี่ยวชาญของช่างฝีมือในวัฒนธรรมฮารัปปาใน
                                            ื่
                   ยุครุ่งเรืองได้อย่างเด่นชัดมากขึ้น จึงจะขอจำแนกโบราณวัตถุแต่ละประเภทมาอธิบาย
                   ดังต่อไปนี้

                                  • เครื่องปั้นดินเผาและภาชนะดินเผา ในส่วนของภาชนะดินเผานั้นมีความ
                   หลากหลายทั้งในเรื่องรูปทรงและการตกแต่งลวดลาย ภาชนะส่วนใหญ่ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน เนื้อ
                                                                                               3
                   ดินมีทั้งแบบหยาบและแบบละเอียด เผาจนมีเนื้อแกร่งและมักจะทาด้วยน้ำดินข้นสีแดง  พร้อม
                   ทั้งตกแต่งด้วยการวาดลวดลายด้วยสีดำบนพนภาชนะ แม้ว่าบางครั้งจะพบว่ามีการใช้สีหลายสี
                                                          ื้
                   แต่หาได้ยากและมีจำนวนน้อยมาก ส่วนลวดลายที่วาดมักจะเป็นลายเรขาคณิต สัตว์และพนธุ์
                                                                                                   ั
                   พฤกษา โดยเฉพาะรูปเกล็ดปลา ใบโพธิ์ (pipal leaves) และรูปวงกลมสองอันตัดกัน
                   (intersecting circles) ซึ่งเป็นลวดลายที่มีมาตั้งแต่ยุคแรกเริ่มของวัฒนธรรมฮารัปปา ในขณะที่
                   รูปมนุษย์มักไม่ค่อยพบหรือวาดค่อนข้างหยาบ




                          3  น้ำดินข้นดังกล่าวมาจากดินแดงซึ่งประกอบไปด้วยออกไซด์เหล็ก (Iron oxide) ในอินเดียรู้จักกันในชื่อเครุ (geru)
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43