Page 35 - 001
P. 35

24


                          งานฝีมือในช่วงเวลานี้ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างสูง อันแสดงให้เห็นถึงการใช้เวลาในการ

                   ฝึกฝน ซึ่งอาจเป็นช่วงที่ว่างจากประกอบอาชีพหลักคือการเพาะปลูก หรืออาจทำเต็มเวลาไปเลย
                   ก็เป็นได้ ข้อสันนิษฐานนี้เห็นได้อย่างชัดเจนจากโบราณวัตถุประเภทภาชนะดินเผา ทั้งนี้ ภาชนะ
                   สีเหลืองนวล-แดง (ochre coloured Ware) และภาชนะสีเทา (grey ware) ในบริเวณลุ่ม

                   แม่น้ำสินธุพบได้น้อยกว่าในเขตบาลูจิสถาน แม้ว่ารูปทรงของภาชนะดินเผาส่วนใหญ่ของทั้งสอง
                   เขตพื้นที่จะคล้ายคลึงกัน แต่ภาชนะที่เป็นตัวจำแนกความแตกต่างของทั้ง 2 พื้นที่ได้แก่ ภาชนะ

                   ทรงพาน ฝาปิดภาชนะและภาชนะที่มีขอบปากสองชั้น (flanged rims) ที่ปรากฏในบริเวณลุ่ม
                   แม่น้ำสินธุ นอกจากนี้ยังมีโบราณวัตถุประเภทอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นความแตกต่างของทั้งสอง
                    ื้
                   พนที่ เป็นต้นว่า ตุ๊กตาดินเผา (terracotta) รูปวัวเทียมเกวียน แผ่นดินเผารูปสามเหลี่ยม
                                                                                     1
                   (triangular cakes) ลูกปัดดินเผา กำไลดินเผาและตุ๊กตาดินเผารูปสัตว์ต่างๆ
                          ทักษะฝีมือด้านงานช่างอื่นๆพบว่ามีพัฒนาการเพิ่มสูงขึ้น เป็นต้นว่า ลูกปัดหินที่พบว่ามี

                   การทำเป็นอุตสาหกรรมในท้องถิ่น การนำเปลือกหอยมาแปรรูปเป็นเครื่องประดับพบว่าเป็น
                   ลักษณะเด่นของพนที่ในเขตลุ่มแม่น้ำสินธุ โบราณวัตถุที่ทำจากทองแดงหรือสำริดมีความ
                                    ื้
                   หลากหลายและจะมีปริมาณสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเข้าสู่ชั้นวัฒนธรรมฮารัปปาอย่างเต็มตัว

                   อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนที่จะชี้ชัดได้ว่ามีการแบ่งชนชั้นขึ้นในสังคมแล้ว
                   หรือไม่ รวมไปถึงในเรื่องศูนย์กลางทางการปกครองและองค์กรทางเศรษฐกิจ ก็ยังคงไม่พบ

                   หลักฐานใดๆที่จะเชื่อมโยงไปได้ในช่วงเวลานี้ แต่การปรากฏขึ้นของโบราณวัตถุที่มาจาก
                            ั
                   ความสัมพนธ์ทางการค้ากับชุมชนภายนอกที่อยู่ไกลออกไป อาจแสดงให้เห็นว่ามีกลุ่มคนที่มี
                   ฐานะดีเกิดขึ้นแล้วในสังคม


                          2. วัฒนธรรมฮารัปปาในยุครุ่งเรือง (the mature harappan) วัฒนธรรมฮารัปปา

                   ในยุครุ่งเรือง ซึ่งกำหนดอายุอยู่ในราว 3,000 – 1,900 ปีก่อนคริสตกาล มีลักษณะเฉพาะที่เห็น
                   ได้อย่างชัดเจน ความโดดเด่นอย่างหนึ่ง คือ ผังเมืองที่มีลักษณะเป็นเอกภาพ เป็นแบบเดียวกัน
                   ตลอดทั้งเมืองที่วัฒนธรรมนี้แพร่ออกไป ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในวัฒนธรรมฮารัปปายัง

                   สะท้อนให้เห็นได้จากวัตถุดิบที่มีมาตรฐานแบบเดียวกัน และการแสดงออกในงานทางด้านศิลปะ
                   จากหลักฐานทางโบราณคดีทั้งที่ได้จากการขุดค้นและสำรวจทำให้พอที่จะสรุปลักษณะของ

                   วัฒนธรรมฮารัปปาในยุครุ่งเรืองแยกเป็นประเด็นต่างๆได้ ดังต่อไปนี้
                            2.1 ผังเมืองและที่อยู่อาศัย วัฒนธรรมฮารัปปามีการวางผังเมืองที่โดดเด่นและล้ำ
                   หน้ากว่าอารยธรรมอื่นๆในโลกฝั่งตะวันออกของช่วงเวลาเดียวกันอย่างมาก เมืองส่วนใหญ่จะ

                         ื้
                   แบ่งพนที่ออกเป็น 2 ส่วน คือเนินดินที่มีสิ่งก่อสร้างคล้ายป้อมปราการ (citadel) หรือ
                   สิ่งก่อสร้างคล้ายสถูป (stupa) ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งเรียกว่า เมืองต่ำ (lower city) ซึ่ง

                   สันนิษฐานว่าเป็นส่วนที่อยู่อาศัยของประชากร รูปแบบของเมืองจะประกอบไปด้วยถนนที่วิ่งไป






                          1  J.G. Shaffer and B.K. Thapar. (1999). Pre-Indus and Early Indus Cultures of Pakistan and India. History of
                   Civilizations of Central Asia. Delhi: Shri Jainendra Press, p. 254.
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40