Page 40 - 001
P. 40

29



































                                          ภาพที่ 14 ประติมากรรมรูปชายมีเครา

                      ที่มา: https://upload.wikimedia.org/[Online],  accessed 10 September 2018


                     accessed 10 September 2018


                          โบราณวัตถุที่ทำจากหินอีกประเภทหนึ่งได้แก่ ตราประทับ ซึ่งส่วนใหญ่ทำเป็นรูป
                   สี่เหลี่ยมจัตุรัส มีขนาดอยู่ในราว 2 – 3 เซนติเมตร มีบ้างที่พบว่าทำเป็นรูปทรงกลม วัตถุดิบที่

                   ใช้ทำส่วนใหญ่เป็นหินสบู่ (steatite) แต่ก็พบบ้างว่ามีการทำด้วยเงิน งานเคลือบ (faience)
                                       4
                                                                                              ื่
                   ทองแดงและแคลไซต์  (calcite) ด้านหลังเจาะเป็นรู สามารถนำไปร้อยกับเชือกเพอห้อยได้
                   กรรมวิธีทำตราประทับที่ทำด้วยหิน เริ่มจากการตัดหินและทำเป็นรูปทรงที่ต้องการ หลังจากนั้น
                   จึงแกะสลักด้วยสิ่ว หลังจากนั้นจึงถูกเคลือบผิวด้วยอัลคาไล (alkali) และความร้อน ทำให้
                   ผิวหน้าเป็นสีขาวมันเงา การแกะสลักจะแกะแบบร่องลึก (intaglio) เมื่อกดประทับลงบนวัสดุ

                   ใดๆก็จะปรากฏเป็นรอยนูน ลวดลายที่แกะสลักมักจะเป็นรูปสัตว์ได้แก่ รูปช้าง เสือ กวาง
                   จระเข้ กระต่ายป่า (hare) วัวมีโหนก (humped bull) ควาย แรด สัตว์ในตำนานมีหลายหัว

                   และสัตว์เขาเดียวที่เรียกกันว่า ยูนิคอร์น (unicorn) มักพบรูปรางหญ้าเล็กๆ หรือเสาประดับอยู่
                                                                 ์
                   ด้านหน้าตัวสัตว์ ตราประทับบางชิ้นมีรูปสัตว์ มนุษย และต้นไม้อยู่ในชิ้นเดียวกัน สันนิษฐานว่า
                   เป็นรูปเทพเจ้า หรือฤาษี ทั้งนี้ นอกจากรูปสัตว์ที่ปรากฏในตราประทับแล้ว ยังปรากฏจารึกเป็น

                                                              ี
                   ตัวอักษรควบคู่กันไปด้วย อย่างไรก็ดี บางชิ้นมีเพยงตัวอักษรแต่ไม่มีลายรูปสัตว์ หรือบางชิ้นมี
                   เพียงรูปสัตว์หรือสัญลักษณ์แต่ไม่มีตัวอักษร




                                                                                                   th
                          4  Upinder Singh. (2013). A History of Ancient and Early Medieval India from the Stone Age to the 12
                   Century. India: Pearson, p. 161.
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45