Page 34 - 001
P. 34

23


                          การศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมฮารัปปาโดยใช้หลักฐานทางโบราณคดี ทำให้พสูจน์ได้ว่า
                                                                                             ิ
                   วัฒนธรรมฮารัปปาเป็นวัฒนธรรมที่มีความซับซ้อนและมีความยาวนาน ข้อสันนิษฐานก่อน
                   หน้าที่กล่าวว่าวัฒนธรรมฮารัปปาเป็นส่วนแพร่ขยายของอารยธรรมเมโสโปเตเมียได้ถูกปฏิเสธไป
                   ในที่สุด ดังนั้นโดยทั่วไปแล้วการศึกษาเรื่องราวในวัฒนธรรมนี้จึงแบ่งระยะเวลาเป็น 3 ช่วง

                   ด้วยกันได้แก่ 1) ฮารัปปาในช่วงแรกเริ่ม (early harappan) 2) ฮารัปปาในยุครุ่งเรือง (mature
                   harappan) และสุดท้ายคือ 3) ฮารัปปาในยุคสุดท้าย (late harappan)







































                                     แผนที่ที่ 3  แสดงแหล่งโบราณคดีในวัฒนธรรมฮารัปปา

                   ที่มา :  https://upload.wikimedia.org/ [Online], accessed 10 September 2018.

                          1. วัฒนธรรมฮารัปปาในช่วงแรกเริ่ม (early harappan) จากหลักฐานที่ยัง

                   หลงเหลืออยู่ตามแหล่งโบราณคดีต่างๆทั้งในเขตบาลูจิสถานและบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุทำให้
                   พอที่จะสรุปวิถีการดำเนินชีวิต ลักษณะสังคม และความเชี่ยวชาญในงานฝีมือต่างๆ ของผู้คน
                   บริเวณบาลูจิสถานและลุ่มแม่น้ำสินธุในยุคแรกเริ่มของวัฒนธรรมฮารัปปาได้ว่า ในช่วงราว

                   4,000 – 3,500 ปีก่อนคริสตกาล กลุ่มคนเหล่านี้ดำเนินชีวิตด้วยวิถีทางการเกษตรควบคู่ไปกับ
                                                                                        ื
                   การเลี้ยงสัตว์ โดยในฤดูหนาวจะปลูกข้าวสาลี (wheat) ข้าวบาร์เลย์ และพชฝักตระกูลถั่ว
                   ในขณะที่ฤดูร้อน ซึ่งเป็นฤดูแห่งมรสุม จะปลูกฝ้าย (cotton) อินทผาลัม (dates) เมลอน
                                 ื
                   (melon) และพชผักอื่นๆที่ชอบน้ำ ส่วนสัตว์ที่เลี้ยงคือ วัว ควายน้ำ แกะ และแพะ การหาของ
                   ป่าและการจับปลายังคงปรากฏให้เห็นและเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39