Page 33 - 001
P. 33
22
บทที่ 3
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ / วัฒนธรรมฮารัปปา
ก่อนปี 1924 อารยธรรมอารยันได้รับการพจารณาว่าเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดใน
ิ
เอเชียใต้ จนกระทั่ง เมื่อมีการค้นคว้าทางโบราณคดีมากขึ้น ประกอบกับการสำรวจและค้นพบ
แหล่งโบราณคดีต่างๆ จึงทำให้ทราบว่ายังมีอารยธรรมอื่นที่มีความเก่าแก่ไปกว่าอารยธรรมของ
ชาวอารยัน
ประวัติการสำรวจอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเริ่มขึ้นตั้งแต่ในปี 1826 ได้มีผู้มาเยือนเนินดิน
ขนาดใหญ่แห่งเมืองฮารัปปา (Harappa) ทว่ากว่าจะมีผู้สนใจและทำการศึกษาอย่างจริงจังก็เข้า
สู่ในช่วงทศวรรษที่ 1850 ไปแล้ว หนึ่งในผู้สนใจดังกล่าวคือ อเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม
(Alexander Cunningham) ซึ่งในช่วงเวลานั้นมีตำแหน่งเป็นวิศวกรทหารแห่งบริษัทอีสต์
อินเดีย (East India Company) แห่งสหราชอาณาจักร เขาได้ทำการขุดหลุมทดสอบขนาดเล็ก
ลงบนเนินดินที่เมืองฮารัปปา และได้พบร่องรอยของสิ่งก่อสร้างบางอย่าง แต่ในขณะนั้นเขากลับ
ไม่ได้สนใจเมืองนี้เท่าใดนัก
จนกระทั่งเมื่อเขากลับมาเมืองนี้อีกครั้งในปี 1872 ซึ่งในขณะนั้นเขาได้ดำรงตำแหน่ง
เป็นผู้อำนวยการแห่งกองสำรวจทางโบราณคดีของอินเดียแล้ว เขาได้พบเครื่องมือหิน ภาชนะ
ดินเผา และตราประทับรูปวัวมีโหนกที่มีอักขระที่ไม่สามารถอ่านได้ เขาจึงแสดงความคิดเห็นไป
ว่าตราประทับนี้ไม่ใช่ของในท้องถิ่นแต่มาจากต่างชาติ หลังจากนั้น จึงมีผู้เข้าไปสำรวจที่เมืองโม
เฮนโจ ดาโร (Mohenjo daro) และฮารัปปาอีกหลายครั้ง แต่ที่มีการขุดค้นทางโบราณคดีอย่าง
แท้จริง คือ ในปี 1920 โดยทยา รัม สาห์นิ (Daya Ram Sahni) ขุดค้นที่เมืองฮารัปปา และอาร์.
ดี.พาเนอร์จี (R.D. Banerji) ขุดค้นที่เมืองโมเฮนโจ ดาโรในปี 1921 อย่างไรก็ดี ผู้ที่ประกาศให้
โลกรู้ถึงความสำคัญของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุอย่างเป็นทางการคือ เซอร์จอห์น มาแชล (Sir
John Marshall) อธิบดีกรมโบราณคดีของอินเดีย (สมัยนั้น) โดยเขาได้เน้นย้ำให้เห็นว่าอารย
ธรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของอินเดียในอดีต สามารถย้อนช่วงเวลาไปได้ถึงกว่า 2,500 ปีก่อน
คริสตกาลซึ่งร่วมสมัยกับอารยธรรมเมโสโปเตเมียและอียิปต์อันเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ของโลก
จนกระทั่งในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา งานสำรวจ ค้นคว้าและวิจัยในทาง
โบราณคดีมีระบบมากขึ้น ทำให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในอารย
ธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเพมพนขึ้น แนวความคิดในเรื่องการเจริญขึ้นและความเสื่อมลงของอารย
ู
ิ่
ิ
ธรรมนี้ได้ถูกนำมาพจารณาใหม่ ประกอบกับการดำเนินงานทางด้านโบราณคดีได้มีมาอย่าง
ต่อเนื่อง นักวิชาการหลายท่านได้เข้าไปศึกษาและทำการขุดค้น ซึ่งในช่วงกว่า 90 ปีที่ผ่านมา
จนถึงปัจจุบัน ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุได้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล แหล่ง
โบราณคดีใหม่ๆได้รับการสำรวจและค้นพบ ส่วนแหล่งเก่าบางครั้งก็ได้มีการขุดค้นเพมเติม มี
ิ่
การแปลความใหม่ๆเกี่ยวกับอารยธรรมนี้อย่างหลากหลาย อย่างไรก็ดี แม้จะมีข้อมูลใหม่ๆ
เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีเรื่องราวอีกหลายแง่มุมที่ยังคงความลึกลับ ซึ่งก่อให้เกิดการโต้เถียง
กันทางวิชาการจวบจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้