Page 41 - 001
P. 41
30
ภาพที่ 15 ตราประทับรูปสัตว์ต่างๆ
ที่มา : https://upload.wikimedia.org/ [Online], accessed 10 September 2018
• เครื่องประดับ จากหลักฐานทางโบราณคดี การทำเครื่องประดับประเภท
ลูกปัดทำกันมาตั้งแต่ยุคก่อนหน้านี้แล้ว แต่เมื่อเข้าสู่สมัยวัฒนธรรมฮารัปปา เครื่องประดับถูก
ทำขึ้นด้วยวัสดุ รูปแบบและเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยในส่วนของวัตถุดิบนั้น ลูกปัดที่ทำขึ้นจากหินกึ่ง
รัตนชาติ (semi-precious stones) เป็นต้นว่า หินสบู่ หินอาเกต หินคาร์เนเลียน ลาปิส ลาซูลี
• งานทางด้านโลหกรรม พบโบราณวัตถุที่ทำจากโลหะที่หลากหลาย คือ
ทองแดง สำริด ทอง เงิน และตะกั่ว โบราณวัตถุที่ทำจากทองแดงและสำริดประกอบไปด้วย
ภาชนะ (vessels) หอก (spears) มีด ดาบสั้น (short swords) หัวธนู ขวาน เบ็ดตกปลา
(fishhooks) เข็ม (needles) กระจก แหวน และกำไล ในขณะที่ทองคำและเงินมักจะถูกนำไป
ทำเป็นเครื่องประดับ เช่น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ เข็มกลัด (brooches) ต่างหู เป็นต้น
โบราณวัตถุที่น่าสนใจในงานโลหกรรมคือ ประติมากรรมรูปหล่อสำริด (bronze
statuette) รูปหญิงสาวนักเต้นรำ พบที่เมืองโมเหนโจ ดาโร มีขนาดสูง 11.2 เซนติเมตร เป็น
รูปหญิงสาวยืนเปลือยกาย สวมสร้อยคอ แขนขวาเท้าเอว แขนซ้ายวางพักบนขาข้างซ้าย โดยมี
กำไลเป็นเครื่องประดับตั้งแต่ข้อมือถึงต้นแขน ส่วนแขนขวาประดับกำไลเพยงเล็กน้อย จาก
ี
ลักษณะทางกายวิภาค สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นชาวพื้นเมือง
2.3 ตัวอักษร นอกจากตราประทับที่ปรากฏตัวอักษรแล้ว ยังปรากฏอยู่บน
โบราณวัตถุประเภทอื่นด้วย เป็นต้นว่า ภาชนะดินเผา งาช้าง และแผ่นทองแดง อักขระหรือ
สัญลักษณ์ดังกล่าวมีมากกว่า 400 ตัว ทั้งนี้ การจารึกอักขระลงบนวัตถุต่างๆในแต่ละชิ้นจะมี
จำนวนตัวอักษรตั้งแต่ 1- 26 ตัว จารึกที่สั้นที่สุดมี 5 ตัวอักษร หากมีหลายบรรทัดจะมีรูปแบบ