Page 31 - 001
P. 31
20
ไม่ว่าจะเป็น ยุโรป เอเชีย แอฟริกา อเมริกากลางและอเมริกาใต้ ในขณะที่เอเชียใต้ วัฒนธรรม
หินใหญ่ปรากฏขึ้นอย่างหนาแน่นในบริเวณคาบสมุทรอินเดียโดยเฉพาะที่ราบสูงเดคข่านและ
ภาคใต้ และเริ่มปรากฏอยู่ในช่วง 1,000 ปีก่อนคริสตกาลหรือราว 3,000 ปีมาแล้ว และต่อเนื่อง
9
จนมาถึงสมัยประวัติศาสตร์ ซึ่งแตกต่างกับทางฝั่งยุโรปที่เกิดขึ้นในระหว่างยุคหินใหม่กับยุค
ทองแดง โดยอยู่ในราว 5,000 – 2,000 ปีก่อนคริสตกาล หรือ 7,000 – 4,000 ปีมาแล้ว
การปรากฏขึ้นของสิ่งก่อสร้างประเภทหินใหญ่นี้ มีทั้งส่วนที่เกี่ยวข้องหรือสะท้อน
รูปแบบของการฝังศพ และเกี่ยวพันกับการสร้างอนุสาวรีย์หิน วัฒนธรรมหินใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้อง
ี
ั
กับการฝังศพเพยงอย่างเดียว แต่ยังเกี่ยวพนกับหินตั้ง และการนำหินขนาดใหญ่มาตั้งเรียงเป็น
แถวอีกด้วย เสาหินลักษณะนี้มีทั้งแบบตกแต่งผิวหน้าแผ่นหินและแบบเรียบๆ มีขนาดความสูง
อยู่ระหว่าง 1-5 เมตร แต่ส่วนใหญ่แล้วไม่เกิน 2 เมตร
ภาพที่ 9 หลุมฝังศพในวัฒนธรรมหินใหญ่
ที่มา : https://upload.wikimedia.org / [Online], accessed 10 September 2018.
นอกจากนี้ หินสลักเป็นรูปบุคคลขนาดใหญ่หรือที่เรียกว่า ประติมากรรมมนุษยลักษณ์
(anthropomorphic figure) ยังถูกพบในแหล่งโบราณคดีในวัฒนธรรมหินใหญ่กว่า 15 แหล่ง
ด้วยกัน ตั้งแต่ในเขตลุ่มแม่น้ำโคทาวรีจนไปถึงแถบทมิฬ นาดู ประติมากรรมขนาดใหญ่นี้จะมี
ความสูงอยู่ในราว 1.7- 3.25 เมตร ส่วนคอและส่วนหัวจะโผล่เหนือไหล่ขึ้นมาเพยงรูปครึ่ง
ี
วงกลม ส่วนล่างจะเป็นรูปฐานรองรับแทนขา ซึ่งจะปักลงไปใต้ผืนดินราว 75 เซนติเมตร ส่วน
ใหญ่แล้วจะไม่ปรากฏเพศ หินใหญ่รูปบุคคลเหล่านี้มักจะปรากฏร่วมกันกับสุสานที่มีช่องโพรง
(chamber tombs) และกล่องบรรจุศพที่ตั้งอยู่บนพนดิน (dolmens) ซึ่งจากการศึกษา
ื้
ทางด้านชาติพนธุ์วรรณา (ethnographic studies) พบว่าการสร้างหินสลักขนาดใหญ่ใน
ั
10
ลักษณะนี้ เกี่ยวพันกันกับการนับถือบรรพบุรุษและเทพเจ้าในบางชนเผ่า
มีผู้ที่พยายามอธิบายถึงจุดประสงค์ในการสร้างไว้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์
ื่
ทางดาราศาสตร์ กล่าวคือ เป็นสถานที่ที่ใช้ในการสังเกตจุดขึ้น-ลงของดวงอาทิตย์เพอกำหนด
9 V. N. Misra. (2001). Prehistoric human colonization of India. Journal of Biosciences. 26 (4), p. 522.
10 Joanna Sudyka. (2010). The “Megalithic” Iron Age Culture in South India –Some General Remarks. Analecta
Archaeologica Ressoviensia. 5, p. 382.